Page 156 - kpi12626
P. 156
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: 1
และดูแลการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (disciplinary and ex post)
ตามสมควร อันจะเป็นการช่วยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นในการ
ก่อหนี้ของท้องถิ่นลง ซึ่งจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารท้องถิ่นกล้าที่จะริเริ่ม
การก่อหนี้ผูกพันในระยะยาวเพื่อนำเงินไปลงทุนพัฒนาเมืองตามความ
เหมาะสมและจำเป็นได้ต่อไป คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
8.2.3 การพัฒนามาตรฐานการบัญชีและการบริหาร
สินทรัพย์ท้องถิ่นให้มีความเป็นสากล
สืบเนื่องจากข้อเท็จจริงในปัจจุบันว่าองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นยังมิได้จัดทำมาตรฐานการบัญชีให้มีความเป็นสากล (generally
accepted accounting principles: GAAPs) การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน
จึงอาจมิได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอสำหรับใช้ในการกำหนดนโยบายการ
จัดบริการสาธารณะและการจัดการทรัพย์สินของท้องถิ่นที่เหมาะสม
ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัญชีท้องถิ่นในปัจจุบันไม่มีการบันทึกบัญชีรายการ
ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างถาวรบางประเภท ครุภัณฑ์และสินทรัพย์ถาวรของ
ท้องถิ่นมิได้มีการปรับค่าเสื่อมราคา ทำให้มูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ถาวร
เหล่านี้มิใช่มูลค่าปัจจุบัน เป็นต้น ดังนั้นการประเมินความเพียงพอของการ
จัดบริการสาธารณะจากมูลค่าทรัพย์สินถาวรนี้จึงยังมิใช่ตัวเลขที่ถูกต้อง
เท่าที่ควร นอกจากนี้ การที่ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนและ
ถูกต้องว่าสินทรัพย์ถาวรที่อยู่ในความดูแลของท้องถิ่นมีเป็นจำนวนและ
มูลค่าเท่าใด ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นไม่สามารถวางแผนการใช้ประโยชน์และ/
หรือแผนการซ่อมบำรุงสินทรัพย์เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
อันส่งผลต่อเนื่องทำให้การบริหารและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่าง ๆ
ขาดประสิทธิภาพ และมิอาจประเมินถึงความคุ้มค่าในการดำเนินงานได้
อย่างตรงไปตรงมา
ด้วยเหตุนี้ จึงควรส่งเสริมให้การจัดทำบัญชีขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีมาตรฐานเป็นสากล เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีข้อมูลที่