Page 117 - kpi15428
P. 117
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การดำเนินการของรัฐต่อสภาพปัญหาด้านสิทธิชุมชน
การออกกฎระเบียบ เช่น โครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2518 เพื่อรักษาสภาพป่าต้นน้ำ
โดยให้ประชาชนในเขตป่าสามารถทำกินในพื้นที่ป่าได้และสามารถตกทอดสู่
ลูกหลานได้คนละไม่เกิน 15 ไร่ แต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หลังจากการ
ดำเนินโครงการทำให้ลดการบุกรกป่าได้ในระดับหนึ่ง จึงมีการขยายไปยัง
พื้นที่อื่นๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2522 (วิยุทธ์
จำรัสพันธ์ และประสิทธิ์ คุณุรัตน์, 2543, น.240 - 241) หรือในปี
พ.ศ.2533 รัฐจัดที่ดินทำกินหลังจากถูกเวนคืนให้กับชาวกะเหรี่ยง
ที่ห้วยองคต จ.กาญจนบุรี และต้องอพยพชุมชนนี้ไปยังพื้นที่ซึ่งภาครัฐ
จัดให้โดยมีพื้นที่ทำกินครอบครัวละ 10 ไร่ ซึ่งไม่เพียงพอ (โอภาส ปัญญา
และคณะ, 2543, น.343)
การใช้กลไกทางสังคม เช่น รัฐโดยหน่วยจัดป่าต้นน้ำ ตำบลพะโต๊ะ
จังหวัดชุมพรได้ดึงการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านเพื่อร่วมกันบริหารจัดการป่าไม้
ภายใต้โครงการคนอยู่-ป่ายัง ที่เริ่มปี พ.ศ. 2536 โดยใช้การสร้างกติกาการมี
ส่วนร่วมและพูดคุยกับชุมชนมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านมี
สายสัมพันธ์อันดีและชาวบ้านให้ความร่วมมือเพราะเกิดความไว้วางใจ
(นฤมล หิญชีระนันทน์, 2543, น.502) หรือกรณีชุมชนบริเวณหาดเจ้าไหม
จังหวัดตรังที่มีส่วนร่วมในการดูแลและคุ้มครองพะยูนและหญ้าทะเล รัฐจึง
ควรจะร่วมมือกับประชาชนมากกว่าแทนที่จะประกาศให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง
และชุมชนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากป่าไม้ได้เลย (คณะบุคคลโครงการ
สิทธิชุมชน, 2554, น.90)
จากการศึกษาการดำเนินการของชุมชนและภาครัฐต่อกรณีปัญหา
ด้านสิทธิชุมชน นักวิชาการหลายท่านให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนนั้นควรจะ
มีสิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ
109