Page 138 - kpi15428
P. 138
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แต่ก็เป็นการขับชุมชนออกจากพื้นที่ นำไปสู่การคอรัปชั่น อีกทั้ง ภาครัฐเอง
ก็ขาดความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นในการจัดการทรัพยากรอย่าง
เป็นธรรมและยั่งยืน นอกจากนี้ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้
เป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ชุมชนต้องออกมาเรียกร้องสิทธิเพื่อให้ได้อยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ดี ขณะที่สภาพแวดล้อมบริบทระหว่างประเทศ กติกาและ
ข้อตกลงในปัจจุบันมีทิศทางที่ส่งเสริมต่อสิทธิมนุษยชนและธรรมาภิบาล
และข้อตกลงดังกล่าวมักมีความยึดโยงกับประเด็นการค้าระหว่างประเทศ
ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และบริบทระหว่าง
ประเทศดังกล่าว ได้ทำให้แนวนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วง 5 ปีนี้มีความชัดเจนมากขึ้น
โดยเห็นได้จากตัวอย่างการใช้สิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
ของกรณีที่สมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อนและกลุ่มชาวบ้านพื้นที่มาบตาพุด
และบ้านฉางที่ร่วมกันฟ้องหน่วยงานรัฐต่อศาลปกครองในปี พ.ศ.2552
ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ.2550 มาตรา 67 วรรคสอง เป็นผลให้ศาลปกครองกลางสั่งคุ้มครอง
สิทธิชุมชนของชาวบ้านโดยให้หน่วยงานของรัฐนั้นสั่งผู้ประกอบการประเภท
กิจการที่มีความรุนแรงจำนวน 76 โครงการระงับโครงการเป็นการชั่วคราว
ก่อน (ศรีสุวรรณ จรรยา, 2554) ซึ่งถือเป็นช่องทางการได้มาซึ่งสิทธิชุมชน
ตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญโดยไม่ต้องใช้สิทธิผ่านกฎหมายระดับ
พระราชบัญญัติ
แนวโน้มกฎหมายที่คำนึงถึงสิทธิชุมชนในช่วงนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยจะเห็นได้ว่ามีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนเกิดขึ้น และชุมชนมีช่องทาง
ในการเรียกร้อง แสดงออก ดำเนินการตามสิทธิมากขึ้น ดังตัวอย่าง
สภาองค์กรชุมชนที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551
อย่างเช่น สภาองค์กรชุมชนบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ได้
หยิบยกประเด็นการทำสัมปทานเหมืองแร่ในทะเลและการขุดทรายขาย
สิงคโปร์มาเปิดเวทีสาธารณะเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมรับฟังข้อมูล
สภาองค์กรชุมชนตำบลท่าดี อำเภอลานสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็น
1 0