Page 137 - kpi15428
P. 137

ชุมชนกับสิทธิ  ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



                  ฟ้องร้องรัฐของชุมชนมาบตาพุดซึ่งกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่ในส่วน
                  ของนโยบายจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาล เน้นการส่งเสริมชุมชนในทาง

                  เศรษฐกิจ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีแนวทางการบริหารจัดการ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงมิติด้านชุมชน ส่วนรัฐบาล
                  โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หากพิจารณาคำแถลงนโยบายนับได้ว่ามี
                  ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิชุมชนมากที่สุด เพราะมีการผลักดัน
                  กฎหมายรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรปรากฎในคำแถลง
                  นโยบาย

                       รูปแบบนโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
                  และสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2550 – 2554 ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่ามี
                  ลักษณะเปิดกว้างจนชุมชนสามารถใช้สิทธิฟ้องร้องรัฐให้ดำเนินการตาม
                  หน้าที่ได้ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า สภาพแวดล้อมทางนโยบายที่สำคัญซึ่งส่งผล

                  ต่อรูปแบบนโยบายสิทธิชุมชนในช่วงนี้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
                  การเมือง และบริบทระหว่างประเทศ โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าแนวทาง
                  พัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผลดีต่อการ
                  พัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องมาจากหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 ทำให้
                  รัฐยังคงแนวทางตามเศรษฐกิจนี้ซึ่งมีความยึดโยงกับชุมชน

                       สภาพแวดล้อมทางการเมือง ในช่วงนี้การเมืองภาคประชาชน
                  มีแนวโน้มตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นประกอบกับการจัดสรรทรัพยากร
                  โดยรัฐแต่เพียงผู้เดียวได้ส่งผลให้เห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  ไม่ได้ถูกอนุรักษ์ซ้ำยังมีความเสื่อมโทรมและลดน้อยลงตามลำดับ เพราะรัฐ
                  ไม่อาจควบคุมทรัพยากรซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง สอดคล้องกับที่กิตติศักดิ์
                  ปรกติ (2550, น.63 - 66) ได้กล่าวไว้ว่าการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้ที่มี

                  อำนาจสูงสุดของสังคมไม่อาจครอบคลุมทุกพื้นที่และรัฐส่วนกลางแท้จริงแล้ว
                  ก็ไม่ได้มีความเข้มแข็งพอที่จะปกครองทุกพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีความ
                  สอดคล้องกับ Ostrom (1990) อีกเช่นกันว่าการที่รัฐบาลกลางควบคุมและ
                  เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ของประเทศ (Nationalizations) เพื่อปกป้องทรัพยากรไว้





                                                                             1 9
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142