Page 146 - kpi15428
P. 146
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้ทางออกร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสุดท้ายอาจนำไปสู่การจัดตั้ง
องค์กรหรือสถาบันโดยชุมชนมีส่วนร่วม นโยบายและการปฏิรูปกฎหมาย
(Deliberative democracy process) เป็นการริเริ่มปฏิรูปกฎหมาย
นโยบายอันเกิดจากข้อตกลงร่วมระหว่างภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในชุมชน และ การสร้างขีดความสามารถ (Capacity - building)
ให้กับชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. การปรึกษาหารือ
การปรึกษาหารือ (Deliberation) เป็นการใช้กระบวนการพูดคุย
ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดแนวทางบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน โดยภาคส่วนต่างๆ มาร่วมจัดการปัญหา
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการปรึกษาหารือ ชุมชนเองอาจมีกระบวนการ
ทำให้มีหน่วยงาน/องค์กรมารองรับจนนำไปสู่การทำให้กฎของชุมชนได้รับ
การยอมรับเป็นกฎหมาย
ในประเทศไทย ปัจจุบันมีสภาองค์กรชุมชนซึ่งได้มีการดำเนินการไป
บ้างแล้วในส่วนการประสานงานและจัดทำแผนพัฒนาชุมชนร่วมกัน ดังนั้น
รัฐควรมีการสนับสนุนบทบาทหน้าที่องค์กรชุมชนให้มากขึ้นได้แก่ การปรับ
บทบาทของสภาองค์กรชุมชนที่มีอยู่ให้ร่วมงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มากขึ้น โดยองค์กรชุมชนสามารถจัดการและร่วมทุนได้ ดังเช่นประเทศ
บอตสวานาซึ่งมีการจัดตั้งองค์กรชุมชน (Community – Based Organization:
CBO) โดยองค์กรชุมชนนี้มีสิทธิในการเช่าที่ดินจากคณะกรรมการที่ดิน
ประจำเขตเป็นระยะเวลา 15 ปี เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ รัฐควรสนับสนุนองค์กรชุมชนให้มีบทบาทในการสำรวจ รวบรวม
ข้อมูล หรือศึกษาเกี่ยวกับบรรทัดฐาน จารีตประเพณี ประวัติศาสตร์ของ
ชุมชนไทยในแต่ละภาคเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตั้งแต่อดีต ซึ่งข้อมูลนี้อาจเป็น
ประโยชน์ต่อการเติมเต็มช่องว่างทางกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่อาจเกิดขึ้น
1 8