Page 51 - kpi15428
P. 51
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตามกฎหมาย Forest Rights Act ได้ให้อำนาจแก่สภาหมู่บ้าน
(ระดับ Gram Sabha) ให้เป็นผู้ริเริ่มกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิซึ่ง
รวมไปถึงการรับเรื่อง การรวบรวม และตรวจสอบข้อร้องเรียน สภาหมู่บ้าน
ดำเนินการผ่านคณะกรรมการสิทธิป่าไม้ ซึ่งกำหนดให้มีตัวแทนชุมชนหรือ
ผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ในคณะกรรมการชุมชน เช่น เผ่าที่ตั้งขึ้นมา ชุมชนที่อยู่
อาศัยในป่า ผู้หญิงในสภาหมู่บ้าน และคณะกรรมการสิทธิป่าไม้ ซึ่ง
การพิจารณาและร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิจะเป็นเรื่องส่วนรวมที่ต้องการ
การพิจารณาจากหมู่บ้านและชุมชนเพื่อตัดสินตามสิทธิทางธรรมชาติ
ยกตัวอย่างเช่น ตำบล Kalahandi ในรัฐ Orissa ที่หน่วยงานอย่างเขต
อนุรักษ์สัตว์ป่า Karlapat ได้ประกันความเป็นตัวแทนและการมีส่วนร่วมของ
กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มผู้เก็บผลิตภัณฑ์จากป่า กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มสมุนไพร
และกลุ่มผู้หญิงในสภาหมู่บ้านและคณะกรรมการสิทธิป่าไม้ นอกจากนี้
กฎหมายนี้ยังให้อำนาจแก่องค์กรส่วนท้องถิ่น โดยให้อำนาจแก่ผู้ทรงสิทธิ
ป่าไม้ สภาหมู่บ้าน และสถาบันระดับหมู่บ้านเพื่อปกป้องทรัพยากรชุมชน
และที่อยู่อาศัยจากกิจกรรมใดๆที่ส่งผลเสียต่อป่าไม้ สัตว์ป่า และความ
หลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งบทบัญญัตินี้ถูกใช้โดยชุมชนเพื่อทำให้การอนุรักษ์
ของชุมชนมีความเข้มแข็งและเพื่อควบคุมการคุกคามจากภายนอกซึ่งอาจ
กระทบต่อป่าของชุมชนได้ ยกตัวอย่างเช่น เขตอนุรักษ์สัตว์ป่า Badrama
ที่ชุมชน Sambalpur ในรัฐ Orissa ได้ก่อตั้งคณะกรรมการและเริ่มแผนการ
จัดการทรัพยากรป่าไม้ ในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่า Lakhari ชุมชนท้องถิ่นได้ส่ง
คำร้องต่อผู้มีอำนาจในตำบลเพื่อให้หยุดกิจกรรมการบดหินในพื้นที่ป่าและ
สัตว์ป่าของชุมชน ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ชุมชนได้พยายามที่จะใช้อำนาจที่ตน
มีเพื่อหยุดพื้นที่เพาะปลูกในเชิงพาณิชย์เช่นสบู่ดำและการปลูกพืชสวน
ต่างถิ่น (Dash, 2010, pp.34-38)
อินเดียยังมีระบบวรรณะ เช่น มีระบบวัด ความศักดิ์สิทธิ์ และสวนป่า
ซึ่งทำให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการป่าไม้ รวมทั้งวัฒนธรรม