Page 79 - kpi15428
P. 79
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังตัวอย่างคำแถลง
นโยบายของรัฐบาลคณะที่ 48 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีพลเอก
สุจินดา คราประยูร ระหว่างวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2535 - 10 มิถุนายน
พ.ศ.2535 ที่พบว่านโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐบาล
คณะนี้ยังคงเป็นเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟู โดยการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้
ต้นน้ำจะมีการสนับสนุนให้องค์กรประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมพัฒนา
บริหาร และบำรุงรักษา ในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษนั้น
รัฐบาลจะมีการสนับสนุนชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีบทบาทและ
มีส่วนร่วมกับภาครัฐด้วย ขณะที่ในรัฐบาลคณะที่ 50 ภายใต้การนำของ
นายชวน หลีกภัย ระหว่างวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2535 - 13 กรกฎาคม
พ.ศ.2538 ประเด็นที่จะเชื่อมโยงไปยังสิทธิชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำกลับมาเข้าประเด็นหลักด้าน
นโยบายเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง โดยรัฐบาลมีนโยบายกำหนดเขตการใช้
ประโยชน์ที่ดินที่คำนึงถึงสมรรถนะชุมชน สนับสนุนองค์กรท้องถิ่นและ
ประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน
กระจายอำนาจการจัดสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
อย่างไรก็ดี รัฐบาลคณะที่ 51 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี นายบรรหาร
ศิลปะอาชา ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2538 - 25 พฤศจิกายน
พ.ศ.2539 และคณะที่ 52 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต
ยงใจยุทธ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 - 9 พฤศจิกายน
พ.ศ.2540 ได้มีนโยบายเด่นชัดเกี่ยวกับการเร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วย
ป่าชุมชนเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กร ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
จัดการป่าชุมชน เพื่อให้คนและป่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น
มีส่วนร่วม
แนวนโยบายด้านสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2475 – 2539 ยังคงไม่ปรากฏเด่นชัด เพราะมี
71