Page 80 - kpi15428
P. 80
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จุดเน้นไปที่การกระจายอำนาจ การลดความยากจน การส่งเสริมการเกษตร
แสดงให้เห็นว่าประเด็นด้านสิทธิชุมชนไม่ได้ถูกลำดับความสำคัญไว้ก่อน
เพราะมีการให้ความสำคัญกับมิติอื่นๆ ก่อนแล้วจึงเชื่อมโยงไปถึงชุมชน
v กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ตรา
ในช่วง พ.ศ.2475 -2539
จากการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องระหว่าง พ.ศ.2475 – 2539 ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัตินั้น สามารถแบ่งกลุ่มกฎหมาย
ที่สำรวจได้ 5 กลุ่มตามประเภททรัพยากร ได้แก่ กลุ่มกฎหมายด้าน
ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งน้ำ ที่ดิน แร่ และพลังงาน ดังมีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้
๏ ทรัพยากรป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2481 มีเจตนารมณ์ เพื่อควบคุม
ดูแลรักษาป่าไม้ ควบคุมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยใช้อำนาจรัฐ
ซึ่งกฎหมายมีลักษณะกำหนดโครงสร้างการจัดการทรัพยากรป่าไม้และไม่ได้
ให้อำนาจแก่ชุมชนไว้ (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.86-87)
โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับไม้หวงห้ามและการทำไม้นั้นจะต้องได้รับอนุญาต
ทำสัมปทานโดยเสียค่าภาคหลวงให้กับรัฐ จึงอาจกล่าวได้ว่า การเข้าไปใช้ป่า
หรือทรัพยากรป่าไม้ของชุมชนตามสิทธิที่มีอยู่เดิมถูกจำกัดให้เฉพาะเอกชน
บางรายเท่านั้น ต่อมาพระราชบัญญัติป่าไม้ฉบับที่ 2 พ.ศ.2491 และฉบับที่
3 พ.ศ.2494 มีข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและการกำหนดอายุ
สัมปทาน ต่อมาฉบับที่ 4 พ.ศ.2503 เป็นการปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สูง
ยิ่งขึ้นในกรณีมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ลักลอบตัดไม้หรือแผ้วถางป่า ฉบับที่
5 พ.ศ.2518 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับบัญชีค่าธรรมเนียม การใช้อุปกรณ์ทำ
ป่าไม้ของผู้ได้รับอนุญาต ขนาดจำกัดของไม้ ซึ่งเป็นการปรับให้มีความเป็น
ปัจจุบันมากขึ้น ฉบับที่ 6 พ.ศ.2522 ได้มีการเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน
กฎหมายป่าไม้ให้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ต่อมาพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่
7) พ.ศ. 2525 ได้มีข้อกำหนดปรับบทลงโทษขั้นต่ำบางมาตราลง โดยมี
7