Page 118 - kpi15476
P. 118

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   11


                              ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้ปกครองจำเป็นต้องบริหารจัดการรัฐด้วยประเด็น “ปากท้อง”
                      เป็นเบื้องแรก ดังแนวทางการพัฒนาของประเทศจีนซึ่งพยายามย้ำเน้นว่า “อาหารมาก่อน พูดคุย

                      กันคราวหลัง” (Food First Speech Later) สอดรับกับหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เน้นใน
                                                                                        34
                      ประเด็นเดียวกันว่า “ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง”  จะเห็นว่า ความหิวโหย
                      หรือความยากจนเป็นตัวแปรสำคัญที่รัฐจะต้องบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความอยู่รอดทาง

                      กายภาพ มิฉะนั้น ประเด็นนี้จะนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น การปล้นจี้ หรือขโมยเพื่อความ
                      อยู่รอดในเชิงกายภาพ


                              ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในพระพุทธศาสนา คือ พระเจ้ามหาวิชิตราช ซึ่งมุ่งเน้นการแบ่งปัน
                      และจุนเจือบุคคลที่มีความต้องการปัจจัยภายนอก พระองค์ค้นพบความจริงประการหนึ่งว่า สิ่งที่

                      เป็นศัตรู และท้าทายต่อความเป็นผู้ปกครองของพระองค์คือ “ความยากจน” ของมวลอาณา
                      ประชาราษฎร์ ไม่ใช่หมู่โจร หรือกองทัพของรัฐอื่นๆ อาศัยเหตุผลดังกล่าว พระองค์จึงขอความ

                      ร่วมมือมหาเศรษฐี และคฤหบดีที่มีโอกาส และกำลังทางการเงินมากกว่าเข้าไปช่วยสนับสนุน
                      และช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เมื่อประชาชนอยู่ดีกินดี ย่อมส่งผลต่อความ
                      สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองของพระองค์เอง


                            2.  ตัวชี้วัดในเชิงพฤติภาพ (Behavior Indicator) สิ่งที่ชี้ชัดเกี่ยวกับตัวชี้วัดเชิง

                      พฤติกรรมของผู้นำในจักกวัตติสูตรคือ “ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการ
                      พัฒนาการกาย วาจา และใจของผู้ปกครอง” เพื่อให้มีผู้ปกครองมีภูมิคุ้มกันที่ดีในการกำกับและ
                      ควบคุมพฤติกรรมของตัวเองมิให้ส่งกระทบต่อประชาชน และรัฐ เช่น การไม่ทุจริตคอรัปชั่น

                      แย่งชิงทรัพยากรของรัฐมาเป็นของตัวเองในทางมิชอบ การสำรวมระมัดระวังการพูดอันจะนำไปสู่
                      ความร้าวฉาน และก่อให้แตกแยกระหว่างประชาชนในรัฐ ในขณะเดียวกัน ผู้ปกครองถือได้ว่าเป็น

                      แบบอย่าง (Role Model) ในการนำต่อกลุ่มคนต่างๆ ในชุมชน และสังคม อีกทั้งจะนำมาซึ่งการ
                      เคารพนับถือ และเชื่อมั่นจากผู้อื่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น


                              ศีลของผู้ปกครองนั้น เป็นการสะท้อนแง่มุมส่วนตัวของผู้ปกครองเอง (Personality)
                      และสะท้อนแง่มุมของผู้ปกครองที่จะต้องฉายภาพความเป็นตัวตนต่อทั้งการควบคุมพฤติกรรม

                      ทั้งการแสดงออก และการพูดต่อสาธารณะ ในขณะเดียวกัน หากมองในอีกมุมหนึ่ง ศีลเป็น
                      หลักปฏิบัติที่สามารถยืนยันคุณค่าของตัวผู้ปกครองเองว่า มีคุณลักษณะที่ทำให้สังคมเกิดความไว้
                      วางใจได้


                              ด้วยเหตุนี้ ศีล 5 จึงเป็นข้อปฏิบัติที่เป็น “พื้นฐาน” ในการยืนยันคุณสมบัติของการเป็น

                      ผู้ปกครอง ทั้งในแง่ของการเคารพ และให้เกียรติในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การไม่ทุจริตคอรัปชั่น
                      การไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จนเป็นที่มาของการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                      การยึดมั่นในคุณค่าครอบครัวในฐานะเป็นรากฐานของการพัฒนาชุมชนและสังคม การสื่อสาร
                      ระหว่างกันและกันบนฐานของความจริง และการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขซึ่งจะทำให้
                      ผู้ปกครองขาดสติจนไม่สามารถบริหารจัดการในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม                                 เอกสารประกอบการอภิปราย


                         34   “ชิฉจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา” (ขุ.ธ. (บาลี) 25/203/52.
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123