Page 117 - kpi15476
P. 117

11      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                     ตนเหล่านี้ คือ ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ
                     ความไม่เบียดเบียน ความอดทนและความไม่พิโรธ แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อยย่อมเกิด

                     แก่เรา”
                           31
                       จากนัยข้างต้น ประโยคที่ว่า “เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้ง

                  อยู่แล้วในธรรม 10 ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัว” สะท้อนว่า การดำรงบทบาทอยู่ในสถานะการ
                  บริหารจัดการรัฐของผู้ปกครองได้ในระยะเวลายาวหรือสั้นนั้น สัมพันธ์กับการที่ผู้ปกครอง

                  ได้ปฏิบัติตัวดำรงตนอยู่บนฐานของแนวปฏิบัติที่ว่าด้วยกับทศพิธราชธรรมหรือไม่? อย่างไร?
                  ทศพิธราชธรรมจึงเป็น “อำนาจที่อ่อนละมุน” (Soft Power) ที่จะยึดครองจิตใจของประชาชน
                  หรือพลเมืองให้เกิดความยินดีต่อภาวการณ์นำของผู้ปกครอง โดยที่ผู้ปกครองที่เป็นผู้ปกครอง

                  อย่างแท้จริงไม่ต้องใช้ “อำนาจที่แข็งกระด้าง” (Hard Power) เข้ามาจัดการกับประชาชน
                  ซึ่งแนวทางนี้สอดรับกับหลักการที่ปรากฏในจักกวัตติสูตรว่า “...เป็นธรรมราชา ชนะโดยธรรม

                  ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา...” 32


                  ตัวชี้วัดความเป็นราชาโดยธรรม



                       เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ธรรมราชา” ซึ่งหมายถึง “พระราชา หรือผู้ปกครองที่ทำให้ประชาชนพึง

                  พอใจโดยธรรม” นั้น คำว่า “โดยธรรม” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้อธิบายเอาไว้โดยละเอียดดังที่
                  ได้นำเสนอไว้ในประเด็น “ธรรมราชา: หลักการปกครองเพื่อสร้างความยินดีพอใจแก่ประชาชน”
                  แล้ว แต่เมื่อจัดกลุ่ม


                       1.  ตัวชี้วัดในเชิงกายภาพ (Physical Indicator) คัมภีร์ทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถา

                  ที่อธิบายถึงความเป็นธรรมราชานั้น ชี้ชัดไปในทิศทางเดียวกันว่า “จุดเริ่มต้นของผู้ปกครองที่ดี
                  และสมบูรณ์คือต้องรู้จักการให้ (ทาน)” ไม่ว่าจะเป็น “ทาน” ในสังคหวัตถุ “ทาน” ในทศพิธราช

                  ธรรม และการสงเคราะห์หมู่ชนต่างๆ และสัตว์ เช่น ที่เป็นบริวาร ข้าราชบริพาร สมณพราหมณ์
                  ชาวชนบท และหมู่นกทั้งหลายในจักรวรรดิวัตรก็นับเป็น “ทาน” เช่นเดียวกัน ซึ่งการโดยภาพรวม
                  จึงเป็นการสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยงดู ช่วยเหลือเกื้อกูล และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่บุคคล

                  อื่นๆ (อัตถจริยา)


                         คำถามมีว่า “เพราะเหตุใด? พระพุทธศาสนาจึงย้ำเตือนให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องเริ่มต้น
                  ด้วยการให้เกี่ยวกับ “วัตถุ” ก่อนสิ่งอื่นๆ เหตุผลสำคัญก็เพราะพระพุทธศาสนามองว่า “ผู้ให้ย่อม
                  เป็นที่รักของคนหมู่มาก คนหมู่มากย่อมคบหานรชนนั้น เขาย่อมได้รับเกียรติ เจริญด้วยยศ เป็น

                  ผู้ไม่เก้อเขิน แกล้วกล้าเข้าสู่บริษัท”  จะเห็นว่า “การให้เป็นการสร้างความเชื่อมั่น” (Trust) ซึ่ง
                                                   33
        เอกสารประกอบการอภิปราย      32   ขุ.ชา. (ไทย) 28/240/62.
                  ความเชื่อมั่นจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี (Relationship) ระหว่างปกครองและประชาชนในรัฐนั้น



                     31
                        “อทณฺเฑน อสตฺเถน ธมฺเมน อภิวิชิย อชฺฌาวสิ” (ที.ปา. (บาลี) 11/81/49-50). ที.ปา. (ไทย) 11/81/60).

                        “ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู” องฺ.ปญฺจก. (บาลี) 22/34/43.

                    33
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122