Page 115 - kpi15476
P. 115
114 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
คัมภีร์ชั้นอรรถกถาได้กำหนดตัวแปรสำคัญของการเป็น “ราชา” เอาไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่
ทำให้ประชาชนเกิดความยินดีพอใจด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ ดังบาลีว่า “จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ ชนํ
รญฺเชตีติ ราชา” แปลว่า “บุคคลใดยังประชาชนให้ยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ เหตุนั้น บุคคล
นั้น ชื่อว่า ราชา” ซึ่งสอดรรับกับหลักฐานบางแห่งที่อธิบายตามนัยที่คล้ายคลึงกันว่า “ราชา”
หมายถึง “ผู้ที่ทำให้ชาวโลกพอใจหรือยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ” ดังรูปวิเคราะห์ว่า “สงฺคห
วตฺถูหิ จ โลกํ รญฺชนฺโต ราชา” แปลว่า “บุคคลผู้ที่ทำให้ชาวโลกพอใจด้วยสังคหวัตถุ 4 อย่าง
ชื่อว่า ราชา” 20
“สังคหวัตถุธรรม” หมายถึง “คุณเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้” หรือ “หลักใน
การครองใจคนโดยการยึดใจให้คนอื่นรัก” ซึ่งประกอบไปด้วย (1) การให้ การเสียสละ การแบ่งปัน
เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แบ่งปันซึ่งกันและกัน (ทาน)
(2) การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ เหมาะสมกับกาลเทศะ (ปิยวาจา) (3) การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยการ
21
ขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ แก่เพื่อนมนุษย์ (อัตถจริยา) (4) การประพฤติตนเสมอต้นเสมอ
ปลาย โดยการปฏิบัติที่สม่ำเสมอแก่กลุ่มคนต่างๆ อีกทั้งพร้อมที่จะร่วมสุขร่วมทุกข์ ตลอดจน
วางตนให้เหมาะสมกับฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ (สมานัตตตา)
(2) ราชสังคหวัตถุ 4
ราชสังคหวัตถุ เป็นหลักธรรมของผู้ครองแผ่นดิน หลักธรรมข้อนี้ถือได้ว่าเป็นหลักธรรม
ในการวางนโยบายในการปกครองและบริหารงานของรัฐที่มุ่งเพื่อเกื้อกูลต่อการเสริมสร้างคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณประโยชน์มากขึ้น ราชสังคหวัตถุนี้ พระพุทธเจ้า
ตรัสเมื่อครั้งประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันใกล้พระนครสาวัตถี ปรากฏในพระไตรปิฎกที่ว่า
“พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นกับฤๅษี ทรงชนะใจหมู่สัตว์ทั่วแผ่นดินด้วยราชธรรมทรงบูชายัญ คือคือ
สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ เสด็จเที่ยวไป... ผู้มีเมตตาในสัตว์ทุก
25
22
24
23
20 ที.สี.อ.(มหามกุฏ) 1/-/368-370, ที.ม.อ.(มจร) 1/258/224-225.
21 ดูเพิ่มเติมใน ที.ปา.(ไทย) 11/270/214.
22 สัสสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิการด้วยการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริม
การเกษตร พระราชาหรือผู้ปกครอง มีการบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจให้มีภาวะเศรษฐกิจดีมี
ผลผลิตพืชพันธุ์สมบูรณ์ในการส่งเสริมอาชีพและการผลิตของประชาชนให้มีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
23 ปุริสเมธะ หมายถึง ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ พระราชาหรือผู้ปกครอง มีความเป็นผู้ฉลาดในการรับ
คนเข้ามารับราชการเพื่อมาทำหน้าที่ในการบริหารของรัฐรู้จักคัดเลือกคนและจัดสรรตำแหน่งให้เหมาะสมกับ
ความรู้ความสามารถ ปูนบำเหน็จความชอบในบางโอกาส รู้จักส่งเสริมคนดี เปิดโอกาสให้คนดีเข้ามารับราชการ
ความสามารถ
เอกสารประกอบการอภิปราย ผู้ปกครอง มีความฉลาดในการแก้ปัญหาสังคม รู้จักผูกสมานรวมใจของประชาชนรู้จักการสงเคราะห์โดยดำเนินการ
สัมมาปาสะ หมายถึง ความมีอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ พระราชาหรือ
24
บริหารให้เป็นไปตามความประสงค์ของราษฎรมีการส่งเสริมอาชีพด้วยวิธีการต่างๆ แก่ประชาชน
25
วาชเปยยะ หมายถึง มีวาจาอันดูดดื่มใจ พระราชาหรือผู้ปกครอง มีวาจาไพเราะอ่อนหวานชวนฟัง ประกอบ
ด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี รู้จักใช้คำพูดให้เหมาะสมกับคนฟังตามวัย ภาวะรู้จักโน้มน้าวให้ทำ
ความดี ยกย่องการทำความดี