Page 116 - kpi15476
P. 116
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 115
หมู่เหล่า จะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ย่อมไม่มีเวร กับใครๆ” 29
28
27
26
เมื่อพระราชาหรือผู้ปกครอง ประกอบด้วยธรรม 4 ข้อนี้ ถือได้ว่า เป็นความฉลาดของ
ผู้ปกครองที่เข้าใจการบริหารประชาชนในประเทศ ต้องสร้างความเชื่อมั่นด้วยการเอาใจใส่ต่อ
ผู้ใต้ปกครอง ด้วยการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก แสดงตัวเป็นผู้ปกครองที่องอาจ
เมื่อเรื่องใดเกิดขึ้นในสังคมของตัวเอง ต้องแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการตัดสินปัญหาเหล่านั้น
อย่างเป็นธรรม ไม่เอนเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ใช้จิตวิทยาผูกประสานรอยร้าวต่างๆ ให้เข้าใจกันได้
ด้วยการใช้คำพูดที่ไม่กระทบกระทั่งทั้ง 2 ฝ่าย จึงจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ฉลาด เข้าใจปัญหา
รู้วิธีแก้ปัญหา นักปกครองลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นที่เคารพ ศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือของ
บุคคลทั่วไป
(3) หลักทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม แปลว่า ธรรมของพระราชาหรือธรรมสำหรับผู้นักปกครอง
30
10 ประการ ที่พระมหากษัตริย์และผู้ปกครองจะต้องเสริมสร้างให้มีขึ้นเป็นคุณสมบัติประจำตัว
เพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจสมาชิกในกลุ่ม ให้ดำเนินไปบรรลุถึงเป้าหมาย หลักทศพิธราชธรรมนี้ ปรากฏ
ในมหาหังสชาดก ที่พระยาหงส์ตรัสสนทนาธรรมกับพระเจ้ากาสี ความว่า
พระยาหงส์ : พระองค์ไม่มีโรคาพาธแลหรือ ทรงสำราญดีอยู่หรือ ทรงปกครอง
รัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรมหรือ?
พระเจ้ากาสี : ดูกรพระยาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ อนึ่งเรามีความสำราญดี และเรา
ก็ปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรม
พระยาหงส์ : โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์แลหรือ และอำมาตย์
เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของพระองค์แลหรือ?
พระเจ้ากาสี : โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา และอำมาตย์เหล่านั้นไม่อาลัย
ชีวิตในประโยชน์ของเรา
พระยาหงส์ :พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟังมีพระเสาวนีย์อันน่ารัก
ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูปพระโฉมและพระยศ เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของ
พระองค์แล ฯลฯ
พระเจ้ากาสี : ดูกรพระยาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่
เราตั้งอยู่แล้วในธรรม 10 ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศลธรรมที่ดำรงอยู่ใน
26 หมายถึง ไม่ทำความเสื่อมเสียต่อผู้อื่นด้วยตนเอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/214)
27 หมายถึง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นทำความเสื่อมต่อผู้อื่น (องฺ.อฏฐก.อ. 3/1/214)
28 หมายถึง ไม่มีอกุศลเวร และบุคคลเวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/214)
29 องฺ.อฏฺฐก.(ไทย) 23/1/194–195.
30 ขุ.ชา. (ไทย) 28/176/112. ดูรายละเอียดใน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ เอกสารประกอบการอภิปราย
ฉบับประมวลธรรม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2543), หน้า 285-287.