Page 114 - kpi15476
P. 114
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 113
(10) พระราชาหรือผู้ปกครองต้องขยันเข้าหาสมณพราหมณ์ ให้มีความสนใจศาสนาและ
ศีลธรรมหมั่นปรึกษาไต่ถามสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ นักวิชาการผู้ที่
มีความรู้ดีความสามารถดี ต้องแสวงหาปัญญา ความรู้และคุณธรรมอยู่เสมอมีที่
ปรึกษาที่ดี บริสุทธิ์ มีคุณธรรม เพื่อให้รู้ชัด รู้แจ้ง และรู้อย่างถูกต้อง ในการ
วินิจฉัยข้อปัญหาต่างๆ ในสิ่งที่ควรกระทำและในสิ่งที่ควรเว้น
(11) ควรเว้นจากความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม (อธมฺมราคสฺส ปหานํ)
(12) ควรเว้นจากความโลภที่มากเกินไป ไม่เลือกว่าอะไรควรไม่ควร (วิสมโลภสฺส ปหานํ)
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเด็นใหญ่ คือ (1) ธรรมาธิปไตย ถือ
ธรรมเป็นใหญ่ ยึดความถูกต้องเป็นธรรมเป็นหลักในการปกครอง (2) ธรรมิการักขา จัดการ
รักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรมแก่คนทุกหมู่เหล่า (3) อธรรมการนิเสธนา จัดการ
ป้องกันและแก้ไขการกระทำความผิดต่างๆในบ้านเมือง (4) ธนานุประทาน เฉลี่ยทรัพย์ให้แก่
คนยากไร้ มิให้ราษฎรขัดสน (5) ปริปุจฉา ปรึกษาสอบถามปัญหาต่างๆ กับสมณพราหมณ์
ผู้ปฏิบัติชอบ รวมถึงนักปราชญ์ ผู้รู้ เพื่อให้รู้ชัดแจ้งการควรประกอบ และประเด็นใดเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สุขของราษฎร
จากหลักธรรมเหล่านี้ ที่ประกอบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึง บทบาท หน้าที่ และคุณธรรมของ
พระราชา หรือนักปกครองที่มีระดับสูง ตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้นสามารถให้กล่าว
ได้ว่า ผู้ปกครองเป็นนักปกครองที่เข้าใจถึงปัญหาของผู้ใต้ปกครองหรือบุคคลทั่วไปและมีวิธีการ
แก้ปัญหาเหล่านั้น ด้วยความถูกต้อง และตั้งอยู่ในธรรม ทำให้ประชาชนส่วนมากมีความเป็นอยู่
ที่ดีขึ้น เศรษฐกิจ สังคมในประเทศที่ตนปกครองนั้นพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ทุกคนมีความสุข
ประเทศชาติมั่นคง เพราะเกิดจากการที่ผู้ปกครองตั้งอยู่ในจักรวรรดิวัตร
ข. หลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของพระราชาหรือผู้ปกครองตามนัยอัคคัญญสูตร
และมหาหังสชาดก
(1) สังคหวัตถุ 4
ความเป็นธรรมราชา หากจะตีความว่า “บุคคล หรือผู้ปกครองที่ทำให้มหาชนเกิดความ
พึงพอใจ หรือยินดีโดยธรรม” แล้ว สามารถอธิบายเทียบเคียงได้กับหลักการที่ปรากฏในอัคคัญญสูตร
ที่พยายามจะนำเสนอว่า “บุคคลใดยังผู้อื่นให้พึงพอใจโดยธรรม บุคคลนั้น เรียกว่า ราชา” แม้ใน
บริบทนี้จะปรากฏเพียงคำว่า “ราชา” คำเดียว แต่ถึงกระนั้นก็สะท้อนความเป็น “ธรรมราชา”
ได้อย่างชัดแจ้ง
คำถามมีว่า “คำว่า โดยธรรม” นั้น สะท้อนหลักธรรมในประเด็นใด? ในคัมภีร์
อรรถกถาแหล่งอื่นๆ ได้พยายามตอบคำถามนี้ทั้งในแง่ของพยัญชนะ และอรรถะ ในแง่ของ
พยัญชนะได้ปรากฏชัดว่า “คำว่า ธรรม นั้นสะท้อนหลักการสังคหวัตถุธรรมเอาไว้ในหลายบริบท เอกสารประกอบการอภิปราย
เพราะการแบ่งทรัพยากร หรือข้าวสามารถนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักทาน ปิยวาจา อัตถจริยา
และสมานัตตตา