Page 157 - kpi15476
P. 157
15 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
(self-determination) ดังนั้น ไครเกอร์ (Leonard Krieger) จึงเห็นว่า ในการศึกษาทำความเข้าใจ
ต่อแนวคิด “enlightened despotism” สิ่งที่เราควรจะมองหาใน “enlightened despotism” จึง
ไม่ใช่ การนำจริยธรรมแห่ง “ภูมิธรรม” ไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงในทางการเมือง หรือแม้กระทั่ง
หลักการแห่งเสรีนิยมที่เป็นผลที่ตามมาจากจริยธรรมแบบ “ภูมิธรรม” แต่สิ่งที่เราต้องมองหาคือ
รูปแบบที่เหล่ากษัตริย์ที่ได้ชื่อว่า “ทรงภูมิธรรม” ได้ประยุกต์ใช้มันในฐานะที่เป็นทฤษฎีแห่งความรู้
หรือญาณวิทยาต่อสภาพความเป็นจริงต่างๆในการเมืองสมัยใหม่ที่ไม่อ้างอิงพระผู้เป็นเจ้าหรือ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไปหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การเมืองที่เป็นเรื่องมนุษย์จริง (human politics) และ
ในฐานะทฤษฎีแห่งคุณค่าหรือจริยธรรมคุณธรรมในบริบทของการเมืองใหม่ดังกล่าว
และถ้าจะให้ตอบโจทย์ว่า ตกลงแล้วมันมีสิ่งที่เรียกว่า “enlightened despotism” ไหม?
ไครเกอร์ยืนยันว่า “ไม่มี” แต่เขากลับอธิบายและยืนยันว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน
ประวัติศาสตร์ยุโรปก็คือ “enlightened absolutism”?!
ไครเกอร์ ชี้ให้เห็นว่า คำว่า “enlightened” นี้มีสองนัยที่ซ้อนกันอยู่ นั่นคือ
นัยแรกที่เป็นนัยความหมายธรรมดา อันหมายถึงผู้ซึ่งมีสติปัญญาเหนือกว่าคนทั่วไปในการ
เข้าถึงความรู้ความจริง ซึ่งในทุกยุคทุกสมัยและในทุกๆประเทศก็จะมีคนบางคนที่ได้รับการยกย่อง
ว่า “รู้แจ้งเห็นจริง” อย่างเช่น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว ฝรั่งใน
ปัจจุบันก็เรียกว่า “enlightened” หรืออย่างในกรณีของเซอร์โทมัส มอร์ (Sir Thomas More:
1478-1535) รัฐบุรุษและนักคิดทางการเมืองผู้แต่งนิยายการเมืองแนวอุดมคติเรื่อง “ยูโทเปีย”
(ตีพิมพ์ ค.ศ. 1516) ก็ขนานนามโดยนักวิชาการสมัยใหม่อย่างศาสตราจารย์นีล วู้ด
นักประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองแนวมาร์กซิสต์ชาวอเมริกัน (Neal Wood: 1922-2003)
ในหนังสือของเขาที่ชื่อ “Foundations of Political Economy: Some Early Tudor Views on
State and Society” (Berkeley: University of California Press: 1994) ว่าเป็นนักคิดแนว
“อนุรักษ์นิยมอย่างรู้แจ้งเห็นจริง” (“Enlightened Conservatism”) นั่นคือ การเป็นอนุรักษ์นิยม
ของเซอร์โทมัส มอร์มิได้มุ่งตอบสนององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะตัวบุคคลเท่ากับจารีตประเพณี
ความถูกต้องของระบอบการปกครองดั้งเดิมภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษ หรือ
อย่างในกรณีของเจมส์ เมดิสัน (James Madison: 1751-1836) ผู้ซึ่งเป็นทั้งรัฐบุรุษ นักทฤษฎี
การเมืองและหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญอเมริกันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติ
อเมริกัน (the American Founding Fathers) และเป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสหรัฐอเมริกา
เขาได้เขียนถึงผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนได้อย่างแท้จริงว่าเป็น “enlightened
statesmen” หรือ “รัฐบุรุษผู้รู้แจ้ง” (ดู the Federalist Papers, Number 10) อันหมายถึง
นักการเมืองที่ป็นตัวแทนประชาชนที่สามารถปรับผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันของประชาชน
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย “enlightened” กำกับความคิดของบุคคลในสามกรณีข้างต้นนี้ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีของพระพุทธ
กลุ่มต่างๆ ให้เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้ผลประโยชน์สาธารณะ (the public good) การใช้คำว่า
เจ้าเมื่องสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว หรือกรณีของเซอร์โทมัส มอร์ในศตวรรษที่หก และของเจมส์
เมดิสันในศตวรรษที่สิบแปด ถือว่าเป็นการใช้ในความหมายปรกตินั่นคือ ความรู้แจ้งเห็นจริงตาม
นัยของความรู้ในบริบทนั้นๆ ของช่วงประวัติศาสตร์ หรือถ้าใครเชื่อว่า “ธรรมที่พระพุทธเจ้า