Page 154 - kpi15476
P. 154
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 153
คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วภูมิปัญญาแบบที่ว่านี้เป็นอย่างไร?
เราอาจกล่าวได้ว่า การเป็นกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ “ทรงภูมิธรรม” คือ กษัตริย์ที่มีรากฐาน
ในการใช้วิจารณญาณทางการเมืองตามองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีเหตุผล (secular knowledge)
ไม่ใช่อิงอยู่กับฐานคิดในแบบศาสนาหรือคติโบราณอย่างที่ปรากฎในช่วงยุคกลางของยุโรป
อย่างไรก็ตาม มันมีประเด็นที่ต้องให้ขบคิดต่อ นั่นคือ องค์ความรู้ที่ว่านี้ถูกใช้ไปเพื่อเป้าหมาย
ทางการเมืองเท่านั้น หรือรวมถึงเป้าหมายทางศีลธรรมจริยธรรม (the moral ends) ด้วย?
เพราะถ้าสืบค้นย้อนกลับไปที่แนวคิดเรื่อง “ราชาปราชญ์” หรือ “ผู้ปกครองที่ทรงปัญญาความรู้”
(philosopher-ruler) ของเพลโตที่เกิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ อันถือได้ว่าเป็นแนวคิดต้นแบบของ
แนวคิด “enlightened despot” ในศตวรรษที่สิบแปด เราจะพบว่า ลักษณะสำคัญของผู้ปกครอง
ที่เป็นราชาปราชญ์ก็คือ จะต้องทรงไว้ซึ่งหลักการหรือเป้าหมายทางจริยธรรม และถ้าคิดตาม
กรอบแนวคิด “philosopher-ruler” มันก็จะนำเราไปสู่ความเข้าใจที่ว่า ผู้ปกครองที่ทรงภูมิธรรมใน
ศตวรรษที่สิบแปดไม่เพียงจะต้องปรับใช้ความรู้ทั่วๆ ไปเท่านั้น แต่จะต้องมีหลักการทางศีลธรรม
จริยธรรมด้วย แต่ปัญหาที่ตามมาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องหลักการทางจริยธรรมนี้ก็คือ ถ้าพูดถึง
หลักศีลธรรมจริยธรรมของผู้ปกครอง เราก็อาจนึกถึงการที่ผู้ปกครองหรือกษัตริย์จะต้องทรงไว้ซึ่ง
เมตตาธรรม (benevolent) หรือถ้าเทียบกับบริบททางการปกครองของไทยเราก็คือ หลัก
ทศพิธราชธรรมนั่นเอง อันประกอบไปด้วย การให้ การอยู่ในศีลในธรรม การเสียสละความสุข
ส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม ซื่อสัตย์ อ่อนโยน มีความอุตสาหะ ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ
ไม่เบียดเบียน มีความอดทน และมีความหนักแน่นไม่เอนเอียงหวั่นไหวง่าย และถ้าเราพิจารณาใน
กรณี ผู้ปกครองที่เป็น “enlightened despot” ของยุโรปโดยเฉพาะคำว่า “despot” การมี
จริยธรรมของ “despot” จึงหมายถึง “ผู้ปกครองเผด็จการที่มีเมตตาธรรม” (benevolent
44
despot)!
ขณะเดียวกัน ถ้าพิจารณานัยของจริยธรรมทางการเมืองตามแนวคิดแบบภูมิธรรมที่เกิดขึ้น
ในศตวรรษที่สิบแปด เราจะพบว่า จริยธรรมทางการเมืองในแบบภูมิธรรมหาใช่ความมีเมตตา
ธรรมหรือมีทศพิธราชธรรมเท่ากับความยึดถือเชื่อมั่นและให้ความสำคัญต่อคุณค่าของเสรีภาพ
และมีความเชื่อมั่นในหลักการแห่งมนุษยธรรม (humanitarianism) อันหมายถึงความเมตตา
กรุณาเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์ทุกคนอย่างสากลไม่เลือกปฏิบัติ (เช่น การเลิกทาส slavery
45
abolition การเลิกกระบวนการพิจารณาความด้วยการทรมาน หรือยกเลิกการเฆี่ยนตีผู้ถวายฎีกา)
ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “ภูมิธรรม” ในศตวรรษที่สิบแปด ความเชื่อในคุณค่า
ความสำคัญของเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (individual freedom) อันเป็นคุณค่าสูงสุดใน
วัฒนธรรมทั่วไปของขบวนการภูมิธรรม (the Enlightenment) อันนำไปสู่นัยที่ว่า “enlightened
despot” จะต้องเป็น “liberal despot” นั่นคือ “ผู้ปกครองเผด็จการที่ยึดมั่นในหลักการแห่ง
เสรีภาพ” ซึ่งมันเป็นอะไรที่ขัดแย้งกันเอง และดูสับสนในตัวมันเอง ดังนั้น จากที่กล่าวถึงหลักการ
จริยธรรมทางการเมืองแบบภูมิธรรม ทำให้แนวคิดเรื่อง “enlightened despotism” จึงอาจจะ
44 Leonard Krieger, opcit., pp. 245-246. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
45 Leonard Krieger, opcit., pp. 245-246.