Page 153 - kpi15476
P. 153
152 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
อะไรสง่าหรือเป็นเจ้าเลย....พระองค์ทรงรู้สึกว่าพระแสงดาบที่ต้องทรงอยู่เป็นของเกะกะ และ
ไม่ทรงทราบว่าจะทำอย่างไรกับพระมาลา....พระองค์มีทีท่าการเคลื่อนไหวที่ไม่น่าดูและพระวรกาย
มักเอียงไปมา การเคลื่อนไหวกระตุกและขาดความสง่างาม และการที่พระเนตรสั้นทำให้ต้อง
41
หรี่พระเนตรอยู่เสมอเวลาทอดพระเนตร หรือมิฉะนั้นก็ดูเบิ่งเฉย”
จากข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินของฝรั่งเศสทั้งสองพระองค์ที่ครองราชย์ต่อจาก
พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ ทำให้นักประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยวิเคราะห์ว่า สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง
ของการเกิดการปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 เป็นผล
มาจากความล้มเหลวของพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์นี้
จากที่กล่าวมาข้างต้น ไครเกอร์ต้องการชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของสภาพทาง
ภูมิศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด “enlightened despot” โดยเฉพาะใน
รัฐที่มีปัญหาความล้าหลังและไม่พัฒนาเมื่อเทียบกับรัฐอื่นๆ มากกว่าจะเกิดในรัฐที่มีความก้าวหน้า
และอยู่ในช่วงที่กำลังเดินหน้าพัฒนาอย่างอังกฤษหรือฝรั่งเศสในช่วงเวลาดังกล่าว การที่พระมหา
กษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศส “สามารถ” เป็นเช่นนี้ได้ ก็อาจจะเป็นเพราะบริบทของประเทศมิได้อยู่
ในเงื่อนไขที่เรียกร้องต้องการพระเจ้าแผ่นดินที่เป็น “อัศวินม้าขาว” แต่ในรัฐที่มีปัญหา ย่อมมี
ความคาดหวังว่า ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้ปกครองจะต้องสามารถรับมือกับความท้าทายในการแข่งขันใน
เวทีการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งจะต้องสามารถรับมือกับการแก้ปัญหาเรื่องมาตรฐานความ
เป็นธรรมในสังคมด้วย ผู้ที่ขึ้นมาปกครองจะต้องมีพลังความสามารถเกินมาตรฐานและทรัพยาการ
ต่างๆที่มีอยู่ในสังคมของเขาขณะนั้น ผู้ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายและนโยบายต่างๆ ของเขาภายใต้
การสื่อสารชุดความคิดที่ก้าวข้ามเงื่อนไขและแนวคิดเดิมๆที่ดำรงอยู่ และบริบทดังกล่าวนี้เองที่เป็น
เงื่อนไขสำคัญในการให้กำเนิด “enlightened despot” 42
ลักษณะประการที่สามคือ ตัวสติปัญญาความรู้ที่เรียกว่า “ภูมิธรรม” (enlightenment)
ของตัวผู้ปกครองที่เข้าข่ายการเป็น “enlightened despot” นั่นเอง คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ
“ภูมิปัญญาในแบบภูมิธรรม” มันเป็นอย่างไร? แน่นอนว่า ถ้าพูดถึงภูมิปัญญาความรู้ ย่อมมีสองนัย
นัยแรกก็คือ ภูมิปัญญาความรู้ทั่วๆไป (intelligence) ทั่วๆ ไปหรือความรู้ที่ทำให้เราเรียกคนๆ นั้น
ว่าเป็นคนฉลาด นั่นคือ ผู้ปกครองคนใดจะเป็น “enlightened despot” ได้ย่อมจะต้องไม่โง่อย่าง
แน่นอน และนอกจากไม่โง่แล้ว ก็ย่อมต้องฉลาด และต้องฉลาดกว่าปรกติด้วย ไม่ว่าจะเทียบกับ
พระมหากษัตริย์องค์ก่อนๆ หรือพระมหากษัตริย์ของรัฐอื่นๆ ส่วนนัยที่สองของภูมิปัญญาความรู้ก็
คือ มันเป็นภูมิปัญญาความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ อันเป็นภูมิปัญญาความรู้ที่สัมพันธ์กับความรู้ในยุค
สมัย เช่นปัญญาความรู้ในยุคแห่ง “ภูมิธรรม” (the Enlightenment) ที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่
สิบแปดในยุโรป นั่นคือ นอกจากผู้ปกครองที่ว่านี้จะต้องเป็นคนฉลาดแล้ว จะต้องมีความรู้หรือ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ตามแนวคิดของบรรดานักคิดนักปราชญ์ในขบวนการดังกล่าวนี้ (the Enlightenment) ทีนี้
สนใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นความรู้ในแบบ “Enlightenment”
43
41
ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1789, เพิ่งอ้าง, หน้า 226.
42
Leonard Krieger, opcit., pp. 245-246.
Leonard Krieger, opcit., pp. 245-246.
43