Page 155 - kpi15476
P. 155

154     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ไม่สามารถมีจริงหรือเป็นจริงได้ หรือถ้ามีก็ค่อนข้างสับสนอยู่ เพราะมันมีความขัดแย้งระหว่าง
                  คุณค่าทางจริยธรรมในแบบ “ภูมิธรรม” กับ “การปกครองแบบเผด็จการ”


                       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ บรรดาผู้ปกครองหรือกษัตริย์ในยุโรปที่ถูกจัดว่าเป็น
                  “enlightened despot” ต่างก็ยืนยันในหลักการความเมตตาต่อมวลมนุษย์ (universal

                  benevolence) และสิทธิส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นหลักการทางการเมือง (political
                  principles) เพราะหากยืนยันในฐานะหลักการทางการเมือง มันก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

                  การปกครอง เพราะถ้ายึดหลักการที่ว่านี้จริงๆ ผู้ปกครองก็จะไม่ดำรงอยู่ในฐานะ “despot”
                  อีกต่อไป เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว “Enlightened despotism” ในนัยความหมายที่ผู้ปกครองมี
                  ความเมตตาเต็มที่และเปิดให้ประชาชนมีเสรีส่วนตัวเต็มที่ และมันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเองในตัวเอง

                  เพราะการเมืองการปกครองแบบอำนาจเบ็ดเสร็จโดยผู้ปกครองเป็นผู้ผูกขาดและรู้ดีแต่ผู้เดียว
                  (หรืออีกนัยหนึ่งคือ “คุณพ่อรู้ดี”) ว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ของประชาชน (utilitarian and

                  authoritarian politics) ย่อมขัดต่อหลักการที่เคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ที่คนแต่ละคนเป็น
                  ผู้กำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ประชาชนแต่ละคน
                  สามารถเลือกที่จะกำหนดตัวเขาเองได้ (self-determination) ดังนั้น ในแง่จริยธรรมคุณธรรม

                  ผู้ปกครองที่เป็น “enlightened despot” จึงไม่ใช่ผู้ปกครองที่เป็น “ศาสนิกชนที่เคร่งครัด” หรือ
                  ถ้าคิดตามบริบทของไทย ผู้ปกครองที่ “ทรงภูมิธรรม” จึงไม่ใช่ผู้ปกครองที่ “ทรงทศพิธราชธรรม”

                  แต่จะต้องยึดมั่นในจริยธรรมคุณธรรมตามแนวของ “the Enlightenment” นั่นคือ จะต้องยึดถือ
                  เชื่อมั่นและให้ความสำคัญต่อคุณค่าของเสรีภาพ มีความเชื่อมั่นในหลักการแห่งมนุษยธรรม
                  (humanitarianism) อันหมายถึงความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจต่อมนุษย์ทุกคนอย่างสากลอย่าง

                  เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ เชื่อในคุณค่าความสำคัญของเสรีภาพของปัจเจกบุคคล (individual
                  freedom) อันเป็นคุณค่าสูงสุดในวัฒนธรรมความคิดในแบบของขบวนการภูมิธรรม (the

                  Enlightenment) อีกทั้งในแง่ของภูมิปัญญาความรู้ ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ จะต้องคิดอย่างมีเหตุมีผล
                  ไม่เชื่อในเรื่องงมงาย หรืแม้กระทั่งจะต้องไม่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าหรือลัทธิทางศาสนาของตน
                  จนไม่ยอมรับการตีความศาสนาหรือพระผู้เป็นเจ้าที่แตกต่างจากที่ตนเชื่อ


                       เราจะเห็นได้ว่า คำว่า “enlightened despot” มีความขัดแย้งในตัวเอง เพราะคุณค่าและภูมิ

                  ปัญญาความรู้ในแนว “ภูมิธรรม” (the Enlightenment) จริงๆจะไม่สามารถไปกันได้กับแนวคิด
                  ทางการเมืองที่เรียกว่า “เทวสิทธิ์” (divine right) ที่อ้างว่า พระราชอำนาจของกษัตริย์มาจาก
                  อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า หรือแนวคิด “ปิตาธิปไตย” (Patriarchy) ของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์

                  (Robert Filmer: 1588-1653)  ที่กล่าวว่า กษัตริย์มีอำนาจอันชอบธรรมในการปกครองเพราะ
                                               46
                  ดำรงอยู่ในสถานะของความเป็น “พ่อของแผ่นดิน” (The King was the father of his country.)
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เจ้าได้ให้อำนาจแก่มนุษย์ในการปกครองเหนือมนุษย์คนอื่นได้ในกรณีเดียวเท่านั้น นั่นคือ กรณี
                  โดยอ้างว่า การปกครองของกษัตริย์ต่อราษฎรของพระองค์ในฐานะพ่อปกครองลูกนั้นเป็นสิ่งที่
                  สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ โดย “ธรรมชาติ” ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลที่ถูกตีความว่า พระผู้เป็น






                        Robert Filmer, Patriarcha and Othe Writings, edited by J.P. Sommerville, (Cambridge:

                    46
                  Cambridge University Press: 1991).
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160