Page 152 - kpi15476
P. 152
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 151
ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่เกิดนอกประเทศ หลังจากที่พระองค์เสด็จ
สวรรคตได้สองร้อยปี ประวัติศาสตร์ได้บันทึกถึงพระองค์ในลักษณะที่เหยียดหยาม โดยกล่าวถึง
พระองค์ไว้ว่า พระองค์ทรงหมกหมุ่นอยู่แต่บรรดานางสนมต่างๆ ของพระองค์ อีกทั้งยังทรง
ตะกละและหยาบคาย อีกทั้งยังทรงขี้หงุดหงิดและอารมณ์ร้อนอีกด้วย 39
ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าแห่งฝรั่งเศสนั้น อาจจะด้วยความสำเร็จอันใหญ่ยิ่งในการบริหาร
ราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ผู้ทรงเป็นพระมหาปัยกาธิบดี (ทวด) และครองราชย์ก่อน
พระองค์ ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้ากลับมิได้ทรงใส่ในพระราชหฤทัยอย่างจริงจังในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน อีกทั้งพระองค์ยังทรงหมกหมุ่นอยู่กับเหล่านางสนมของพระองค์ และปล่อยให้
นางเหล่านั้นเข้าแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะการแต่งตั้งและถอดถอนบรรดา
เสนาบดีต่างๆ แม้ในยามที่พระองค์ต้องทรงงานด้วยพระองค์เอง พระองค์ต้องทรงต้องพึ่งพระราช-
บันทึกคำสอนที่พระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าได้ทรงทิ้งไว้ให้เป็นเสมือนหนึ่งคู่มือ (manual) โดยต้องทรง
อ่านพระราชบันทึกดังกล่าวกลับไปกลับอยู่หลายครั้ง เพื่อทำความเข้าใจว่าในที่สุดแล้วพระองค์
ต้องทรงตัดสินพระทัยอย่างไร เช่น ข้อความตอนหนึ่งในหนังสือคู่มือกล่าวว่า “ต้องฟังเสียง
ประชาชน ปรึกษาสภาอภิรัฐมนตรี แต่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง” พระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้าไม่ทรง
ประสบความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์
ก็มีสัญญาณเด่นชัดถึงการที่ทรงไม่เป็นที่นิยมของราษฎร รวมทั้งมีความพยายามในการลอบปลง
พระชนม์อีกด้วย
ไครเกอร์ได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศสที่ทรงครองราชย์ต่อจาก
สองพระองค์ข้างต้นข้างต้นว่า ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าจอร์จที่สาม (George III: 1738-1820) หรือ
พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก (Louis XVI:1754-1793) ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ทรงพระปรีชาสามารถ
ปราดเปรื่องเพียงพอที่จะทำอะไรที่จะเข้าข่าย “enlightened despot” ได้เลย นอกจากพระเจ้า
จอร์จที่สามจะทรงพระประชวรแล้ว พระองค์ยังประสบความล้มเหลวจากการสูญเสียอาณานิคมใน
อเมริกาด้วย และพระองค์ก็ทรงถูกจดจำในฐานะที่เป็น “พระเจ้าแผ่นดินที่วิปลาส” (The Mad
King)
40
ส่วนพระเจ้าหลุยสี่สิบหกก็เป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการเสพย์แลบริโภคมาก ทอมสัน (J.M.
Thompson: Lectures on Foreign History: 1494-1789) ได้กล่าวถึงพระองค์ไว้ว่า “ข้อบกพร่อง
ของพระองค์อาจเป็นข้อดีถ้าพระองค์เป็นสามัญชน และข้อดีของพระองค์กลับกลายเป็นข้อ
บกพร่องของบุคคลที่ทรงสถานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ไม่สามารถรับบทบาทที่ต้องการความ
สง่าน่าเกรงขาม เช่นในพระราชพิธีในราชสำนัก ชาวอังกฤษผู้หนึ่งที่เคยเข้าเฝ้าที่พระราชวัง
แวร์ซายส์ในปี ค.ศ. 1774 กล่าวว่า ‘พระเจ้าอยู่หัวให้ความสนพระทัยกับคนที่เข้าเฝ้าน้อยกว่าที่คน
เราให้กับแมวหรือสุนัขเสียอีก เพราะพระองค์ไม่ได้แม้แต่ทอดพระเนตรมาทางคนเหล่านั้น’
‘พระองค์มีสายพระเนตรสั้นจนกระทั่งจำคนที่อยู่ห่างมาสัก 2 ก้าวก็ไม่ได้ พระองค์มีพระวรกาย
อ้วน สูงปานกลาง พระอังศายก ทรงมีรูปร่างที่เลวที่สุด พระองค์มีท่าทางแบบชาวนา และไม่มี
39 http://en.wikipedia.org/wiki/George_III_of_the_United_Kingdom เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
40 http://en.wikipedia.org/wiki/George_III_of_the_United_Kingdom