Page 156 - kpi15476
P. 156

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   155


                      ของอาดัมที่ปกครองเหนือคนในครอบครัวของเขา อำนาจของความเป็นพ่อเท่านั้นที่ชอบธรรม
                      สำหรับมนุษย์ในการปกครองเหนือมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น หากกษัตริย์ใช้พระราชอำนาจของตนใน

                      วิถีแบบ “พ่อปกครองลูก” ก็ถือว่าชอบธรรม  อีกทั้งยังมีการนำคัมภีร์ไบเบิลตีความสนับสนุน
                      ระบอบปิตาธิปไตย โดยเฉพาะบทบัญญัติข้อที่ห้าที่ว่า “จงเคารพนับถือพ่อและแม่ของเจ้า” ถูก
                      ตีความว่า ให้เคารพนับถือพ่อแท้ๆ และเคารพนับถือองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะพ่อของแผ่นดิน


                            แต่แนวคิดทางการเมืองการปกครองในแบบ “ภูมิธรรม” ไม่สามารถยอมรับวิธีคิดแบบนั้นได้

                      อีกต่อไป อย่างที่จอห์น ล็อก นักคิดชาวอังกฤษในศตวรรษที่สิบเจ็ด ผู้เป็นบิดาแห่งเสรี
                      ประชาธิปไตยได้ออกมาเขียนตอบโต้แนวคิด “ปิตาธิปไตย” ของฟิลเมอร์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าแนวคิด
                      ทางการเมืองการปกครองในแบบ “ภูมิธรรม” จะต้องปฏิเสธระบอบการปกครองที่มีพระมหา-

                      กษัตริย์เสมอไป แต่สิ่งที่แนวคิดทางการเมืองแบบ “ภูมิธรรม” ปฏิเสธคือ การอธิบายที่มาของ
                      พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์โดยอ้างอิงกับอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าหรือคัมภีร์ไบเบิล (หรือ

                      ถ้าในกรณีของจีนก็อาจจะเป็นเรื่อง “อาณัติสวรรค์” หรือ “บุญญาภินิหาร” “บารมี” หรือ
                      “อวตาร” ในแบบของไทยหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) หรืออย่างในกรณีของโทมัส ฮอบส์
                      (Thomas Hobbes: 1588-1679) และแม้ว่า เมื่อเทียบกับล็อกแล้ว ล็อกจะมีแนวคิดที่ชัดเจน

                      ในความเป็น “ภูมิธรรม” มากกว่าฮอบส์) ก็ถือได้ว่าเป็นนักคิดที่อยู่ในแนว “ภูมิธรรม” แนวคิด
                      ทางการเมืองของฮอบส์ยังสนับสนุนระบอบการปกครองที่ผู้ปกครองมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาดอยู่

                      (absolute power) นั่นคือ สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ฮอบส์ไม่ได้อธิบายที่มา
                      ของพระราชอำนาจของกษัตริย์โดยอ้างอิงกับพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์-เหนือธรรมชาติอีกต่อไป
                      แต่เขาเป็นนักคิดทางการเมืองคนแรกๆที่อธิบายที่มาของพระราชอำนาจว่ามาจากประชาชน

                      ด้วยเขาเชื่อว่า ธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ให้เท่าเทียมกันตั้งแต่แรก และไม่มีมนุษย์คนใดจะมีอำนาจ
                      เหนือมนุษย์คนอื่นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางศาสนาหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือแม้แต่การอ้าง

                      การมีอยู่ของคนที่แข็งแรงกว่าคนอื่นหรือแข็งแรงที่สุด ในทำนองที่เป็น “จ่าฝูง” ในแบบสัตว์
                      เพราะฮอบส์ไม่เชื่อว่าจะมีมนุษย์คนใดที่จะแข็งแรงกว่าคนอื่นไปได้ตลอด อีกทั้งเขาเชื่อว่า ใน
                      สภาวะธรรมชาติ คนที่อ่อนแอกว่าก็สามารถฆ่าคนที่แข็งแรงกว่าได้ ไม่ว่าจะด้วยการลอบกัดหรือ

                      หมาหมู่ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะฮอบส์เชื่อว่า คนที่อ่อนแอที่สุดไม่ได้เป็นคนกิเลสตัณหาหรือความ
                      ต้องการอ่อนไปด้วย


                            แนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่หรือในแบบ “ภูมิธรรม” ยอมรับหรือยอมให้มีพระมหากษัตริย์
                      ต่อไปได้ แต่ดำรงอยู่ต่อไปไม่ใช่ในฐานะของ “พ่อของแผ่นดิน” หรือ “ผู้ช่วยของพระผู้เป็นเจ้า”

                      หรือ “โอรสสวรรค์” หรือ “บุญญาบารมี” หรือเป็น “พระผู้มีพระภาค” แต่ดำรงอยู่ได้ในฐานะที่ได้
                      รับการยินยอมจากประชาชน เพราะอำนาจพื้นฐานทั้งหลายทั้งปวงเริ่มต้นที่มนุษย์แต่ละคนในการ

                      ดูแลชีวิตของตนเองตั้งแต่แรกเริ่มมีมนุษย์ขึ้นมาบนโลก กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า ด้วยเหตุนี้
                      “enlightened” จึงไปด้วยกันกับ “despot” ไม่ได้ เพราะการเมืองการปกครองแบบอำนาจ
                      เบ็ดเสร็จโดยผู้ปกครองเป็นผู้ผูกขาดและรู้ดีแต่ผู้เดียว (หรืออีกนัยหนึ่งคือ “คุณพ่อรู้ดี”) ว่าอะไร

                      คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ของประชาชน (utilitarian and authoritarian politics) ย่อมขัดต่อหลักการ
                      ที่เคารพสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ที่คนแต่ละคนเป็นผู้กำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์           เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ต่อตัวเขาเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ประชาชนแต่ละคนสามารถเลือกที่จะกำหนดชีวิตของเขาเองได้
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161