Page 171 - kpi15476
P. 171
1 0 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
เนื้อหาที่ยกมานี้เพียงเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมราชา นอกจากเป็นคำขยายความ
เกี่ยวกับคุณสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์และพระราชาสามัญแล้ว ก็ยังใช้เป็นคำขยายพระคุณของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย (ซึ่งผู้เขียนจะได้วิเคราะห์ความหมายให้ละเอียดต่อไป) ส่วนเนื้อหา
หลักของสูตรนี้เป็นการเปรียบเทียบธรรมราชา 2 พระองค์ คือ ธรรมราชาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
กับธรรมราชาที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้ง 2 พระองค์แม้จะต่างกันโดยภารกิจที่รับผิดชอบ
พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงมีภารกิจบริหารจัดการประชาชน 4 วรรณะ (4 ชนชั้น) และบ้านเมืองให้
สงบสุข เป็นภารกิจทางโลกโดยทรงบริหารจัดการทั้งด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองพร้อมทั้ง
อบรมให้ถือปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม 5 ประการ ส่วนพระพุทธเจ้าทรงมีภารกิจบริหารจัดการ
พุทธบริษัท 4 กลุ่ม (ซึ่งมาจากคนในวรรณะ 4 นั่นเอง) ให้อยู่อย่างเป็นสุขเป็นภารกิจทางศาสนา
โดยทรงบริหารจัดการทั้งด้านความเป็นอยู่การดำเนินชีวิตพร้อมทั้งอบรมให้ถือปฏิบัติตามหลักของ
มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา แต่สรุปแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ทรงถือธรรมเป็นใหญ่ด้วยกัน
เศรษฐีอนาถบิณฑิกะผู้เป็นพุทธสาวกคฤหัสถ์คนสำคัญก็เคยเรียกพระพุทธเจ้า
พระองค์ปัจจุบันว่า ธรรมราชา ด้วยเช่นกันดังปรากฏในเชตวนสูตรซึ่งมีข้อความเป็นคำร้อยกรองว่า
อิทํ หิตํ เชตวนํ อิสิสงฺฆอาเสวิตํ
อาวุตฺถํ ธมฺมราเชน ปีติสญฺชนนํ มม.
(เทพบุตรอนาถบิณฑิกะกราบทูลว่า)
เชตวันแห่งนี้ช่างเป็นประโยชน์มีหมู่ฤๅษีอาศัยอยู่ประจำ
องค์พระธรรมราชาก็ประทับอยู่ด้วยนาน เป็นที่ที่ทำให้ข้าพระองค์เกิดปีติเสมอมา
6
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ทำไมหรือเทพบุตรอนาถบิณฑิกะจึงมีการเรียกพระพุทธเจ้าว่า
พระธรรมราชา? เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตรแล้วกลับ
มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและกล่าวสดุดีสวนเชตวันซึ่งตัวท่านเองจัดสร้างถวายเป็นวัดสำหรับ
พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับพระสาวกและใช้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทาง
ภาคเหนือของชมพูทวีป หมู่ฤๅษีที่ปรากฏในคำกล่าวสดุดีก็คือ หมู่พระสาวกของพระพุทธเจ้า
พระธรรมราชาก็คือพระพุทธเจ้า และข้อสำคัญวัดเชตวันเกิดประโยชน์มากมาย อาทิ พระพุทธเจ้า
ประทับอยู่นานกว่าวัดแห่งอื่นๆ แสดงพระสูตรมากกว่า 1,000 สูตร คนอินเดียครั้งพุทธกาล
จำนวนมากมาจากทุกวรรณะและเกือบทุกสาขาอาชีพได้มาฟังธรรมและบรรลุมรรคผลตามกำลัง
สติปัญญา พระอรหันต์รูปแรกที่เป็นผลิตผลของวัดเชตวันนี้ก็คือพระนันทะพระอนุชาของ
พระพุทธเจ้าเอง และผู้หญิงอย่างปฏาจาราผู้สูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รักหมดครอบครัวจนตัวเองต้อง
เป็นบ้าก็มาได้สติหายบ้าและบรรลุธรรมพ้นจากทุกข์ก็ที่วัดนี้ ที่กล่าวมาน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย จากคำบาลีว่า ธมฺมสฺสามิ
ทำให้เทพบุตรอนาถบิณฑิกะยกย่องพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระธรรมราชา
ยังมีคำขยายที่แสดงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่น่าสนใจอีก คือ ธรรมสามี ซึ่งมา
สํ.สคาถ. 15 / 48 / 37.
6