Page 172 - kpi15476
P. 172
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 1 1
1. พบในโกสัมพิกขันธกะ ซึ่งมีข้อความว่า “...อาคเมตุ ภนฺเต ภควา ธมฺมสฺสามี
ตถาคโต อปฺโปสฺสุกํ วิหรตุ – ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นธรรมสามีเป็นตถาคต จงทรงรอก่อนเถิด จงทรงอยู่อย่างหยุดขวนขวาย
เถิด”
7
พระสาวกรูปที่กล่าวข้อความนี้เป็นพระชาวโกสัมพีที่เห็นพระพุทธเจ้าทรง
เหน็ดเหนื่อยกับการพยายามให้พระชาวโกสัมพีที่แตกแยกกันลดทิฐิมานะแล้ว
รู้สึกสงสารจึงเข้าไปกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าหยุดเถิด เนื่องจากพระโกสัมพี
ดื้อรันเกินไป
2. พบในตติยอธัมมสูตร ซึ่งมีข้อความว่า “อทฺธา อาวุโส อานนฺท ภควา ชานํ
ชานาติ, ปสฺสํ ปสฺสติ, จกฺขุภูโต ญาณภูโต ธมฺมภูโต พฺรหฺมภูโต วตฺตา ปวตฺตา
อตฺถสฺส นินฺเนตา อมตสฺส ทาตา ธมฺมสามี ตถาคโต...- (ภิกษุทั้งหลายกล่าว
กับพระอานนท์ว่า) พระอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้แบบรู้จริง
ทรงเห็นแบบเห็นจริง อย่างแน่แท้ จึงเป็นดวงตา เป็นญาณ เป็นธรรม เป็น
พรหม เป็นผู้กล่าว เป็นผู้กล่าวอย่างละเอียด เป็นผู้นำความหมายออกมา
ให้อมตะ เป็นธรรมสามี เป็นตถาคต”
8
พระอานนท์กล่าวข้อความนี้ต่อหน้าพระภิกษุหลายรูปเพื่อยกย่องพระพุทธเจ้า
ว่าทรงรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งนี้เนื่องมาจากพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแบบย่อโปรด
พระสาวกแล้วเสด็จเข้าที่ประทับโดยไม่ทรงจำแนกแจกแจงอะไรให้ละเอียด
พระสาวกเหล่านั้นจึงเข้าไปพระอานนท์ พระอานนท์ก็ล่าวยกย่องพระพุทธเจ้า
เพื่อให้พระสาวกเหล่านั้นเกิดความมั่นใจว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเห็นจริง
ข. ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
คัมภีร์ชั้นอรรถกถาคือคัมภีร์อธิบายความพระไตรปิฎกในส่วนที่พระอรรถกถาจารย์
(พระนักวิชาการพระไตรปิฎก) ผู้แต่งเห็นว่าสมควรอธิบายขยายความ ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด แต่เป็น
เนื้อหาบางส่วนที่ควรขยายความ ในการขยายความนั้น บางครั้งก็ขยายความแบบคำต่อคำ แต่
บางครั้งก็ขยายความแบบแต่งอธิบายความรู้อย่างยาวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามที่ท่าน
ประสงค์ ฉะนั้นจึงไม่พบว่ามีการใช้ ธรรมราชา ขยายความอย่างที่มีในพระไตรปิฎก ยกเว้น
แห่งเดียว คือ ในอรรถกถาพระวินัยปิฎกตอนเวรัญชกัณฑ์มีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงมีท่าทีต่อ
เวรัญชพราหมณ์ซึ่งกำลังต่อว่าพระองค์ ไว้ตอนหนึ่งว่า “….อรสรูปตาทีหิ อฏฺฐหิ อกฺโกสวตฺถูหิ
อกฺโกสนฺตมฺปิ พฺราหฺมณํ ภควา ธมฺมิสฺสโร ธมฺมราชา ธมฺมสฺสามี ตถาคโต อนุกมฺปาย สีตเลเนว
จกฺขุนา โอโลเกนฺโต... - พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นธรรมิสร ธรรมราชา ธรรมสามี พระตถาคต
ทอดพระเนตดูพราหมณ์ที่กำลังต่อว่า(พระองค์)ด้วยเรื่องต่อว่า 8 เรื่อง เช่นด่าว่าพระองค์ไม่มีรส
เป็นต้น ด้วยพระเนตรที่สงบเย็นด้วยพระกรุณา...”
9
7 วินย. 5 / 456 / 237. เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
8 องฺ.ทสก. 24 / 115 / 184.
9 วินย.อ. 1 / 11 / 131.