Page 190 - kpi15476
P. 190

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   1 9


                         กับจารีตเท่ากับทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งคนที่มนุษยธรรมคือคนที่
                         สามารถยับยั้งตนเองและโดยกระทำการให้สอดคล้องกับจารีตหรือกฎกติกาของสังคม


                      ปัญญาธรรมหรือการใช้สติปัญญาในการครองตน?


                            ปัญญาถือว่าเป็นคุณธรรมเพราะว่าหมายถึงความเข้าใจแนวทางหรือมรรค (กฎเกณฑ์)
                      ความเข้าใจแนวทางเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการทำตามแนวทางหรือกฎเกณฑ์ ในทัศนะของขงจื่อ

                      ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและความรู้ที่เกี่ยวกับการทำนาหรือการประดิษฐ์มีความสำคัญไม่เท่ากับ
                      การรู้แนวทางของความเป็นคน และความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการปกครองประเทศ ดังคำกล่าว

                      ของขงจื่อที่ว่า สุภาพชนเดินตามแนวทาง(จารีตกฎเกณฑ์) ไม่ใช่อาหาร... สุภาพชนห่วงกังวล
                      ในเรื่องแนวทาง (จารีตกฎเกณฑ์) ไม่ใช่เรื่องความยากจน ดังกรณีตัวอย่างที่


                            ฟานฉื๋อถามอาจารย์ของตนเกี่ยวกับการปลูกข้าวและปลูกผัก ขงจื่อตอบว่าท่านไม่รู้เรื่องนี้
                      ดีเท่าผู้เฒ่าที่เป็นชาวไร่ชาวนา และกล่าวต่อไปว่า


                               เมื่อคนชั้นบนรักจารีตประเพณี ประชาชนคนธรรมดาจะไม่กล้าไม่เคารพ เมื่อคนชั้น

                         บนรักความถูกต้อง ประชาชนคนธรรมดาจะไม่กล้าไม่เชื่อฟัง เมื่อคนชั้นบนรักทำตัวให้น่า
                         เชื่อถือ ประชาชนคนธรรมดาจะไม่กล้าไม่ซื่อสัตย์ ถ้าสภาพการณ์เป็นอย่างที่ว่า ประชาชน
                         คนธรรมดาจาก 4 ทิศจะเดินเข้าหาพร้อมกับแบกลูกหลานมาด้วย เช่นนี้มีความจำเป็นต้อง

                         เรียนรู้การปลูกข้าวหรือ


                            ข้อความข้างต้นบ่งบอกว่าขงจื่อคาดหวังให้ลูกศิษย์เข้าใจความหมายของจารีต ความถูกต้อง
                      ความน่าเชื่อถือ และคุณธรรมอื่นๆ แทนที่จะเรียนเรื่องวิชาชีพ เช่น การปลูกข้าว


                            ส่วนประเด็นว่าปัญญาเกี่ยวข้องกับมนุษยธรรมอย่างไร ในประเด็นนี้ จื่อเซี่ย ได้ให้คำอธิบาย
                      ไว้ดังนี้ “มนุษยธรรมเกิดขึ้นจากการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ความบากบั่นมุ่งมั่นในจุดมุ่งหมาย

                      ศึกษาหาความรู้จากสิ่งที่คุ้นเคย และตรวจสอบสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว” ตามนัยของจื่อเซี่ย การเรียนรู้
                      อย่างกว้างขวางเพื่อเป้าหมายในการฝึกฝนตนเองและความเข้าใจในชีวิตย่อมทำให้ตัวเองเกิด
                      สติปัญญา และสติปัญญาที่ว่านี้ย่อมทำให้สามารถยกระดับบุคลิกทางศีลธรรม ถ้าหากปราศจาก

                      ความรู้ข้างต้น ตัวเราเองคงไม่ต่างอะไรจากคนตาบอด จะไม่สามารถแยกแยะระหว่างความถูกกับ
                      ความผิด ทั้งนี้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการปกครองบ้านเมือง ประเทศที่ปกครองโดยคนฉลาดและมีใจที่

                      เป็นกุศลจะสามารถปกครองบ้านเมืองได้ดี ประชาชนในประเทศก็จะสามารถอยู่อาศัยด้วยความ
                      สงบสันติสุข และดังนั้น การเพาะปลูกและหัตถกรรมก็จะเจริญรุ่งเรือง ขงจื่อวิจารณ์ฟานฉื๋อผู้เป็น
                      ลูกศิษย์ก็เนื่องจากว่าเขาไม่สามารถแยกแยะความจำเป็นก่อนหลังในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

                      ขงจื่อนั้นยกย่องคนฉลาดและคนที่มีคุณธรรม โดยกล่าวว่า


                               คนฉลาดชอบน้ำ คนใจดีชอบภูเขา คนฉลาดขยันขันแข็ง คนใจดีชอบความสงบ
                         คนฉลาดมีความสุข คนใจดีมีชีวิตยืนยาว คนฉลาดปลอดจากความสงสัย คนใจดีปลอดจาก
                         ความกังวล คนกล้าปลอดจากความกลัว                                                                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195