Page 189 - kpi15476
P. 189

1       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15

                  จารีตธรรมหรือกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติต่อกันในสังคม?


                       จารีตธรรมหมายถึงการปฏิบัติตามพิธีกรรม พิธีกรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงรูปแบบการปฏิบัติ

                  ที่ดีอย่างที่เข้าใจกันในทุกวันนี้ แต่หมายถึงพิธีกรรม สถาบัน ประเพณี มาตรฐานความประพฤติ
                  และกฎเกณฑ์ความประพฤติต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการชี้นำและยับยั้งความสัมพันธ์
                  ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลในวงการชั้นสูง จารีตหมายถึงกติกา เช่น เกี่ยวกับว่า

                  เจ้าเมืองควรปฏิบัติอย่างไรต่อเสนาบดี ลูกจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อพ่อ จารีตเป็นเสมอนกฎหมาย
                  ที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จารีตหรือพิธีกรรมในที่นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหลักประกัน

                  เกี่ยวกับความเป็นระเบียบและเสถียรภาพของสังคม

                       ขงจื่อคาดหวังและให้ความสำคัญกับจารีตหรือพิธีกรรมเป็นอย่างมาก ปัญหาหรือความทุกข์

                  ยากของสังคมในยุคนั้น เช่น หัวเมืองไม่ฟังคำสั่งของส่วนกลาง ลูกน้องไม่เชื่อฟังเจ้านาย สงคราม
                  ยืดเยื้อ และการแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นเสมอๆ ขงจื่อมองว่าเกิดจากการล่มสลายของจารีตธรรม

                  ในทัศนะของขงจื่อ หนทางเดียวที่จะยั้บยั้งเหตุการณ์ต่างๆอันไม่พึงปรารถนาข้างต้นคือต้องฟื้นฟู
                  จารีตหรือกฎเกณฑ์ที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เก่าก่อน ดังกรณีการถามตอบดังต่อไปนี้


                          เจ้าเมืองฉี๋ถามขงจื่อเกี่ยวกับการปกครอง ขงจื่อตอบว่า “กษัตริย์ต้องปฏิบัติตัวอย่าง
                     กษัตริย์ เสนาบดีปฏิบัติตัวอย่างเสนาบดี พ่อปฏิบัติตัวอย่างพ่อ ลูกปฏิบัติตัวอย่างลูก”


                       จากคำตอบของขงจื่อข้างต้นหมายความว่า ถ้าทุกคนทำตามบทบาทหรือหน้าที่ของตน

                  การปกครองประเทศก็จะเข้าที่เข้าทางได้ นอกจากนี้ ในโอกาสอื่นๆ ขงจื่อยังกล่าวถึงอยู่เสมอ
                  เกี่ยวกับความสำคัญของจารีต ดังนี้


                          ถ้าพฤติกรรมของบุคคลไม่ถูกกำกับชี้นำด้วยจารีตธรรม ความพยายามที่ลงแรงไป
                     ก็อาจสูญเปล่า การกระทำอย่างระมัดระวังอาจถูกมองว่าเป็นความขี่ขลาด ความกล้าหาญ
                     อาจกลายเป็นเรื่องอันตราย และการพูดแบบตรงไปตรงมาอาจกลายเป็นความขมขื่น


                          ดังนั้นคุณธรรมที่ดีในเรื่องความเคารพนบนอบ ความระมัดระวัง ความกล้าหาญและ

                     ความเป็นคนตรงไปตรงมา อาจกลายเป็นจุดอ่อนและเป็นความผิดพลาดถ้ามิได้ถูกกำกับ
                     หรือชี้นำโดยจารีตหรือกฎเกณฑ์การปฏิบัติ จารีตหรือกฎกติกาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ

                     การปกครองที่ดีในทัศนะของขงจื่อ และเกี่ยวข้องกับมนุษยธรรมด้วย ดังคำกล่าวของขงจื่อ
                     ในการตอบคำถามของเหยนยวนที่ว่า “มนุษยธรรมหมายถึงการยั้บยั้งตนเองและการปฏิบัติ
                     ตามจารีตหรือกฎกติกา...”เหยนยวนขอให้อาจารย์อธิบายให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ขงจื่อ

                     ตอบว่า อย่างมองในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับจารีต อย่างฟังถ้าสิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับจารีต
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   คำตอบอาจเป็นได้ว่าการยับยั้งตนเองเท่ากับการเอาชนะความเห็นแก่ตัว และให้ความ
                     อย่างพูดถ้าสิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับจารีต อย่างกระทำถ้าสิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับจารีต”


                          ทำไมจึงถือว่าการยับยั้งตนเองเป็นการสอดคล้องกับจารีตและมีค่าเท่ากับมนุษยธรรม



                     สำคัญแก่ผลประโยชน์ของคนอื่นอยู่เหนือผลประโยชน์ของตนเอง การปฏิบัติให้สอดคล้อง
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194