Page 205 - kpi15476
P. 205
204 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสิ่งที่เพลโตกล่าวไว้ ไม่ต้องนำเรื่องเหนือธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราใช้เพียงตาเนื้อในการมองก็สามารถสังเกตเห็นราชาปราชญ์ได้นั่นเอง
ประการที่สาม แนวคิดธรรมราชามีรายละเอียดของสิ่งที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติเพื่อเข้า
ถึงความเป็นธรรมราชาที่ชัดเจน ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์เป็นแต่เพียงข้อกำหนดกว้างๆ ที่กล่าว
เกี่ยวกับการเป็นนักปกครองที่ดีเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
มีการกำหนดหลักธรรมสำหรับให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมราชา
นั่นคือ ทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร โดยหลักธรรมทั้งสองมีรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า
พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิบัติอย่างไรบ้าง อีกทั้งยังมีการบรรยายถึงคุณลักษณะอื่นๆ ของ
ธรรมราชาไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาด้วย ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์ของเพลโตนั้น เป็นแต่เพียงแต่
การกล่าวถึงคุณลักษณะกว้างของราชาปราชญ์ว่าจะต้องเป็นอย่างไร เช่น ราชาปราชญ์จะต้องเป็น
นักปรัชญา มีเหตุผล มีความยุติธรรม แต่ไม่ได้บอกว่า การที่ราชาปราชญ์จะมีคุณสมบัติเหล่านี้ได้
ราชาปราชญ์จะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว ทำให้กล่าวได้ว่า แนวคิดธรรมราชานั้นเป็น
แนวคิดที่มุ่งสร้างบุคคลให้ไปถึงการเป็นนักปกครองที่ดี ในขณะที่แนวคิดราชาปราชญ์กระทำ
เหมือนกับว่า กำลังต้องการเฟ้นหานักปกครองที่ดีมาปกครองรัฐอยู่ โดยมิได้ชี้ให้เห็นกระบวนการ
สร้างความเป็นนักปกครองที่ดีสักเท่าใด
ประการที่สี่ แนวคิดธรรมราชาเน้นสถานภาพของบุคคลที่ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด (Ascribed
Status) ส่วนแนวคิดราชาปราชญ์กล่าวถึงบุคคลทั่วๆไป มิได้จำเพาะเจาะจงไปที่คนในชนชั้น
กษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากการที่เมื่อคัมภีร์ทางศาสนามีการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ที่เป็น
ธรรมราชาแล้ว ก็มักจะมีการเล่าถึงภูมิหลังของธรรมราชาพระองค์นั้นด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า
พระมหากษัตริย์ที่คัมภีร์ทางศาสนาให้คุณค่าว่าเป็นธรรมราชานั้น ล้วนมีชาติกำเนิดในตระกูล
กษัตริย์ทั้งสิ้น เช่น ในชาดกตอนต่างๆที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เป็นธรรม
ราชาในอดีต ธรรมราชาเหล่านั้นก็ล้วนเป็นบุคคลที่เกิดมาใต้เศวตฉัตร ในขณะที่แนวคิด
ราชาปราชญ์ของเพลโตนั้น มิได้มีการกล่าวถึงราชาปราชญ์ในลักษณะที่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้อง
เป็นผู้ที่เกิดมาในชนชั้นกษัตริย์เท่านั้น แต่เพลโตมุ่งเน้นค้นหาบุคคลที่มีความเป็นนักปรัชญาขึ้นมา
เป็นนักปกครองรัฐ ทำให้ดูเหมือนว่า เพลโตจะมีการเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปขึ้นมาเป็น
นักปกครองด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่เขามีการออกแบบการใช้ชีวิตของบุคคลในช่วงวัยต่างๆ
เพื่อให้บุคคลเข้าถึงความเป็นนักปรัชญาที่แท้จริง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
ประการที่ห้า แนวคิดธรรมราชามีการกล่าวอ้างอิงถึงตัวบุคคลที่เชื่อว่ามีอยู่จริงในคัมภีร์ทาง
ศาสนา ในขณะที่แนวคิดราชาปราชญ์กล่าวถึงนักปกครองที่ดีในลักษณะทั่วๆ ไป มิได้อ้างอิงถึง
ตัวบุคคล สำหรับในกรณีของแนวคิดธรรมราชานั้น ตัวอย่างหนึ่งของการยกบุคคลขึ้นมาอ้างอิง
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย หนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่พระยาลิไททรงแสดงถึงพระญามหาจักรพรรดิราชอันหมายถึงพระเจ้า
เพื่อแสดงให้เห็นว่า บุคคลนั้นเป็นธรรมราชามีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาก็คือ
อโศกมหาราช ความตอนหนึ่งว่า “อันว่าพระญาจักรพรรดิราชนี้ ยังมีจำพวก 1 เล่าไส้ ยังมี
พระญาองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อ พระญาศรีธรรมาโสกราช ธ เสวยราชสมบัติในเมืองอันหนึ่ง
สมญาชื่อว่า ปาตลีบุตรมหานคร เมื่อพระญานั้นเสวยราช พระพุทธเจ้าแห่งเราเสร็จเข้าสู่นิพพาน