Page 243 - kpi15476
P. 243

242     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ดังกรณีที่ “ขงจื่อจะสรรเสริญ ‘ป๋ออี๋กับซูฉี’ ว่าเป็นเมธาชนในสมัยโบราณเพราะทั้งสองพระองค์
                  ต่างสละบัลลังก์ให้กันและกัน ซึ่งแตกต่างจากเจ้าแคว้นเว่ยชูกงเจ๋อผู้เป็นบุตรกับข่วยคุ่ยผู้เป็นบิดา

                  ที่แย่งชิงราชบัลลังก์กันไปมา” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:192) เพราะความผิดที่บุตรฆ่าบิดาถือเป็น
                  ความผิดขั้นรุนแรง หากจวนตัวก็ต้องหลีกเลี่ยงไปไม่ให้บิดามาทำร้ายตนให้ถึงแก่ชีวิตได้ มิฉะนั้น
                  จะถือว่าอกตัญญูที่ทำให้บิดาต้องทำร้ายบุตร ดังที่เจิงจื่อถูกบิดาทุบด้วยไม้พลองจนสลบแล้วผู้คน

                  ต่างสรรเสริญว่าเป็นลูกกตัญญูแต่ขงจื่อกลับไม่มองเช่นนั้น โดยตำหนิเจิงจื่อว่า “การปรนนิบัติ
                  บุพการีของพระเจ้าซุ่นเมื่อครั้งอดีต...หากไม้เล็กก็จงรับ หากไม้ใหญ่ก็จงหนี แต่เจิงจื่อกลับนิ่งเฉย

                  ยอมให้บิดาหวดด้วยไม้พลองใหญ่ หากเกิดเป็นอันตรายถึงชีวิตแล้ว ก็เท่ากับว่าได้สร้างตราบาป
                  ให้แก่บิดาตลอดชีวิต ซึ่งนับเป็นความอกตัญญูยิ่ง” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:73) จึงมองได้ว่า
                  บุตรควรแสดงความกตัญญูโดยการไม่สู้ตอบบิดาหรือหลีกเลี่ยงไปให้พ้นจากการถูกบิดาทำร้าย

                  ซึ่งแตกต่างจากมหาภารตยุทธในกรณีอรชุนที่ต้องการให้บุตรสู้รบกับตน ซึ่งสะท้อนได้ว่าหน้าที่
                  ของกษัตริย์นั้นสำคัญกว่าหน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตรหรือหน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดาอย่างเห็นได้ชัด


                       ในปรัชญาฮินดู แม้นบุตรจะฆ่าบิดาก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพราะถือว่าได้ทำหน้าที่ของผู้ที่
                  เกิดมาในวรรณะกษัตริย์เนื่องจากฐานคิดที่ว่าชีวิตมนุษย์จะเวียนว่ายตายเกิดเป็นวัฏจักร

                  จิตวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างชั่วคราวเท่านั้น แม้ร่างกายจะถูกฆ่าตายแต่ก็ไม่ได้ไปทำลายจิตวิญญาณ
                  ภายใน หน้าที่ของแต่ละคนต่างหากที่ต้องกระทำให้สมบูรณ์เสียก่อนเพื่อเป็นหนทางไปสู่โมกษะ

                  เพราะต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนดังที่ปู่ภีษมะก็ขอให้เหล่าพี่น้องปาณฑพปฏิบัติหน้าที่สมกับ
                  ที่เกิดมาในตระกูลกษัตริย์ ภีษมะเองก็จำต้องกระทำตามพันธะหน้าที่เช่นเดียวกัน เป็นธรรมที่ต้อง
                  ทำให้สมบูรณ์ โดยนัยแห่งการปฏิบัติตัวดังกล่าว ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงอิงกับสถานภาพ

                  ทางการเมืองด้วยซึ่งเป็นหน้าที่ที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่กำเนิดที่โยงกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
                  ทางการเมือง ที่เราเกิดมารู้เลยว่าต้องทำอะไร เป็นอะไร รวมทั้งคนอื่นในสังคมก็ยอมรับใน

                  บทบาทที่เราเป็น เช่นเกิดมาเป็นวรรณะกษัตริย์ ก็ทำหน้าที่ของกษัตริย์ ไม่จำเป็นต้องสร้างความ
                  ชอบธรรมแก่ฐานะมากนัก แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนบทบาทที่มีมาแต่กำเนิดได้เช่นกันเนื่องจาก
                  บทบาทอื่นจะไม่มีความชอบธรรมสำหรับเรา กล่าวโดยสรุปคือ การมีจริยธรรมของบุคคลใน

                  ครอบครัวจะเกี่ยวเนื่องกับความเข้าใจในสถานภาพทางการเมืองในฐานะภาวะแห่งพันธะหน้าที่
                  (Obligation) ภายใต้บริบทแห่งสังคมและสถานการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้น


                       แต่ปรัชญาขงจื่อจะพยายามมุ่งชี้ให้เห็นว่าความใกล้ชิดกับบุพการีและการเคารพเชื่อฟัง
                  ผู้อาวุโสที่สะท้อนถึงจริยธรรมของบุคคลในความสัมพันธ์ภายในครอบครัวจะช่วยแก้ปัญหาความ

                  วุ่นวายในสังคมได้  ดังตัวบทที่ขงจื่อมองว่า “...สำหรับผู้ที่มิแข็งข้อต่อผู้ใหญ่ แล้วชอบก่อความ
                  วุ่นวายนั้น มิเคยปรากฏมาก่อนแล...” (คัมภีร์หลุนอวี่, 2549:116) แสดงถึงว่าขงจื่อให้ความ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   กฎเกณฑ์จารีตของสังคม เมื่อปฏิบัติตนเหมาะสมตามจารีต ความผิดใดๆ ก็ยากจะเกิดขึ้น แต่ถ้า
                  สำคัญกับการแก้ปัญหาสังคมที่ต้นเหตุมากกว่าโดยต้องเริ่มจากจริยธรรมในครอบครัว เพราะเมื่อ
                  ทุกครอบครัวสร้างจริยธรรมให้เกิดขึ้นแล้วก็จะระมัดระวังมิให้คนในครอบครัวกระทำผิดต่อ



                  ความผิดเกิดขึ้นแล้ว บุตรก็ต้องปกปิดความผิดให้กับบิดา ดังที่ขงจื่อกล่าวว่า “คนตรงในหมู่บ้าน
                  ข้า...คือพ่อจะปกปิดให้ลูก ลูกจะปกปิดให้พ่อ และความเที่ยงตรงก็อยู่ที่ตรงนี้นี่เองแล” (คัมภีร์

                  หลุนอวี่, 2549:270) หากจะโต้แย้งว่าในกรณีนี้จะถือว่าบุตรไม่ทำหน้าที่ของผู้ใต้ปกครองหรือไม่
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248