Page 264 - kpi15476
P. 264

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   2 3


                            3)  ในขณะที่ยอมรับอำนาจ ก็มีความคิดย้อนแย้ง (paradoxical) คือมีกระแสต่อต้าน
                                อำนาจรัฐคู่ขนานกันไปด้วย


                            4) เน้นความสมดุลและยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ ทำให้การเปลี่ยนแปลงในแนวลึกเกิดขึ้น
                                ได้ยาก


                            5) ให้ความสำคัญในแง่ของความเป็นไปได้หรือนัยของการปฏิบัติได้ มากกว่าเน้นในแง่ของ

                                นามธรรม

                            จากการนำเสนอข้างต้น อาจพิจารณาได้ว่า พระราชอำนาจเดิมซึ่งสืบต่อมาทั้งในทาง

                      รูปธรรมและนามธรรมอาจจะยังไม่กลมกลืนกับอำนาจใหม่ที่เป็น “ของราษฎรทั้งหลาย” จาก
                      ข้อเขียนของธโสธร น่าจะมีการวิเคราะห์ว่าฐานแห่งราชอำนาจที่สืบต่อมาอย่างเป็นรูปธรรม เช่น

                      เครือข่ายราชาธิปไตย (monarchical network)  เครือข่ายราชการ โดยเฉพาะราชการทหารที่
                                                                   17
                      อาจอ้างอาณัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 และศาลที่ดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหา
                      กษัตริย์ตามมาตรา 197 มากกว่าอ้างอาณัติจากประชาชน และการถือครองทรัพย์สินที่มีเสียง

                      วิจารณ์ว่าควรยึดหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น ส่วนประเด็นฐานแห่งราชอำนาจที่สืบต่อมาอย่างเป็น
                      นามธรรมนั้น พึงพิจารณาว่ามีความกลมกลืนหรือไม่ในบางแง่ เช่น การประชันการบูชาประชาชน

                      กับการบูชาบุคลิกภาพดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนในเรื่องการเสนอพระราชกรณียกิจผ่าน
                      สื่อมวลชนนั้น ควรนำเสนอเฉพาะเรื่องราวที่ดีที่สุดและตัดทอนเรื่องราวที่ไม่น่ายินดีออก หรือควร
                      เสนอความพลั้งพลาด เช่น เรื่องชู้สาว การทะเลาะวิวาท และการหย่าร้างของราชนิกุลต่อ

                      ประชาชนด้วย ซึ่งอาจมีผลเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบของ
                      ราชนิกุล หรือจะทำให้ผู้คนมองเห็นว่า ราชนิกุลก็มีปัญหาเหมือนบุคคลอื่นๆ และไม่จำเป็นที่เรื่อง

                      ราวเหล่านี้จะทำให้ราชนิกุลลดความน่านิยมลง
                                                                18

                            มีข้อพึงพิจารณาต่อจาก ‘ข้อสังเกตเบื้องต้น’ ของวิทยา เช่น คนไทยควรยอมรับการแบ่งแยก
                      อำนาจเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และรักษาความเที่ยงธรรม (องค์กรตามรัฐธรรมนูญ)
                      มากน้อยเพียงใด และควรยอมรับสิ่งยับยั้งทางศีลธรรมและความระมัดระวังมากน้อยเพียงใด

                      (โดยจะกล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในลำดับต่อไป) และคนไทย
                      จะตระหนักถึงความคิดย้อนแย้งของตนมากน้อยเพียงใด ถ้าชอบความสมดุลจริง ก็ควรพิจารณา

                      ถึงความสมดุลระหว่างการยึดตัวบุคคลและการแก้ปัญหาที่คน กับการยึดหลักการและการแก้
                      ปัญหาที่ระบบและโครงสร้างด้วย


                            ในเรื่องพระราชอำนาจนั้น ฝ่ายราชาธิปไตยจะยอมรับการจำกัดพระราชอำนาจอยู่ในเรื่อง
                      “ทรงแนะนำ ทรงให้กำลังใจ และทรงแจ้งเตือน” ดังที่ วอลเตอร์ เบจฮอท อ้างว่าเป็นทั้งหมดแห่ง
                                                  19
                      ภารกิจของราชาธิบดีสมัยใหม่  หรือควรจะมีบทบาทและภารกิจอื่นใดที่สอดคล้องกับบริบทสังคม

                         17   McCargo D. and Tanruangporn P.; อ้างถึงแล้ว น. 28-9

                         18   นาธาเนียล ฮาร์ริส; อ้างแล้ว น. 34                                                          เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                         19   Bagehot, Walter, 1867; The English Constitution; http://socserv.mcmaster.ca/econ/ugcm/3ll3/
                      bagehot/constitution.pdf; อ้างถีงโดยนาธาเนียล ฮาร์ริส, อ้างแล้ว, น. 25
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269