Page 265 - kpi15476
P. 265

2 4     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  การเมืองและประชาธิปไตยของประเทศไทย


                       ในเรื่องความเสมอภาคและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันของมนุษย์ซึ่งเป็นอุดมการณ์สำคัญของฝ่าย
                  ประชาธิปไตยนั้น คงทำให้กลมกลืนกับแนวคิดแบบเทวราชาได้ยาก แต่จะเห็นพ้องกันได้หรือไม่ว่า
                  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของรัฐนั้น ทรงไว้ซึ่งสถานะพิเศษ แต่ก็ทรงเป็นผู้เกิด แก่ เจ็บ

                  ตาย เช่นเดียวกับผู้อื่น และมีความเท่าเทียมตามหลักนิติธรรม (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ)


                  ข้ออ่อนของประชาธิปไตยและทางออกด้วยการถกแถลง



                       เป็นเรื่องธรรมดาที่คติราชาธิปไตยยังคงตกทอดมา และเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่เคยอยู่

                  ข้างฝ่ายผู้ครอบครองอำนาจและทรัพย์สินมาแต่เดิม ที่จะสละฐานคติของตนทั้งๆ ที่รู้ว่าควรจะปรับ
                  เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยใหม่ เช่น โลกาภิวัตน์ กระแสประชาธิปไตยที่มาพร้อมกับ

                  การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงสื่อที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ขณะที่ฐานคติเดิมอ้อยอิ่งที่จะ
                  จากไป ฐานคติประชาธิปไตยที่มาใหม่ก็ยังไม่ค่อยพร้อมอยู่ดี กล่าวโดยรวมคือ ประชาธิปไตยไทย
                  ยังอยู่ในช่วงการแสวงหาคุณค่าที่จะช่วยเอาชนะความกลัว 5 ประเภทที่กล่าวไว้ตอนต้น และ

                  แสวงหาระบบที่จะยังการอยู่ดีกินดีแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าการปกครองระบอบอื่น


                       นอกจากนี้ ระบอบประชาธิปไตยยังเผชิญปัญหาใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอเล็กซ์ วูลฟ์
                                                                                                          20
                  ได้ระบุประเด็นปัญหาและสิ่งท้าทายไว้ 5 ประการคือ 1) ความเฉื่อยชาของสาธารณชนและการ

                  ประท้วงของชนส่วนน้อย 2) การครอบงำโดยเสียงส่วนใหญ่ 3) การที่รัฐ-ประชาชาติกำลังสูญเสีย
                  อธิปไตยส่วนหนึ่งให้แก่องค์การ/ระบบอภิชาติ (supranational) ในระดับภูมิภาค (เช่น อาเซียน)
                  ในระดับระหว่างประเทศ (เช่น องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่าง

                  ประเทศ) ในระดับข้ามชาติ (เช่น ระบบแรงงานข้ามชาติ บรรษัทข้ามชาติ) 4) ลัทธิก่อการร้าย
                  5) ลัทธิเคร่งศาสนาที่ไม่ค่อยมีพื้นที่สำหรับการสานเสวนาหรือการถกแถลงกับผู้ที่มีความเชื่อต่าง

                  แม้ประเด็นทั้ง 5 ประการนี้จะท้าทายและนำความอ่อนแอมาสู่ประชาธิปไตยไทยทั้งสิ้น แต่ขอให้
                  ความสำคัญแก่ประเด็นที่ 1) และ 2) ซึ่งกำลังเป็นความแตกแยกในฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันเอง
                  อยู่ในขณะนี้


                       ฝ่ายพันธมิตรฯและแนวร่วมกำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยใช้หลายรูปแบบรวมทั้งการ

                  ประท้วงที่ยืดเยื้อ โดยมีอุดมการณ์ ‘ชุมชน-ชาตินิยมที่มีกษัตริย์เป็นผู้นำ’  โดยมีเป้าหมายที่จะ
                                                                                      21
                  ต่อสู้กับทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่สามานย์และฉ้อฉล และกับการครอบงำโดยเสียงส่วนใหญ่ที่ถูกชักจูง
                  โดยฝ่ายทุนดังกล่าว ในขณะที่ฝ่าย นปช.และแนวร่วมกำลังต่อสู้กับความไม่ชอบธรรมของอำนาจที่

                  ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และการมีสองมาตรฐาน มีการตั้งชื่อให้กลุ่มก้อนของฝ่าย นปช. ต่างๆ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย      20   อ้างแล้ว น.28-33






                     21
                        ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, 2555; รายงานการวิจัยเรื่อง โครงสร้างอำนาจไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย;
                  คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.), สำนักงานกิจการยุติธรรม,
                  น.2
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270