Page 267 - kpi15476
P. 267
2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ลดความกลัวและเพิ่มความไว้วางใจและการถกแถลงแจงเหตุผลซึ่งควรเป็นกิจกรรมสาธารณะแล้ว
กระบวนการก็ควรนำไปสู่การตัดสินใจแบบแสวงความเห็นพ้องด้วย จึงขอเรียกกระบวนการเช่นนี้
ว่า 3D ประกอบด้วย (1) การสานเสวนา (dialogue) (2) การถกแถลงแจงเหตุผล (deliberation)
หมายถึง การนำประเด็นจากการสานเสวนามาศึกษาและกำหนดประเด็นทางเลือก แล้วร่วมกันใช้
วิจารณญาณพิจารณาข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้นๆ และ (3) การตัดสินใจของผู้มีอำนาจหน้าที่
ผ่านการฟังเสียงสะท้อนและความเห็นพ้องของประชาชน (decision making based on near
consensus)
จะเห็นได้ว่า ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องผนึกกำลังในระดับที่กว้าง แก้ไขจุดอ่อนดังที่ยกเป็น
ตัวอย่างบางประการไว้ข้างต้น และจะต้องพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ เมื่อ
กระทำเช่นนี้แล้ว จึงจะมีความพร้อมที่จะผ่อนปรนและกลมกลืนกับฝ่ายราชาธิปไตยได้อย่าง
เหมาะสม มิใช่อย่างขอไปทีหรือด้วยภยาคติ ซึ่งอาจจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยหวนกลับสู่ความ
รุนแรง หรือขาดเสถียรภาพและความยั่งยืน
สู่ความกลมกลืนโดยมีปรัชญาร่วมกัน
การดำรงการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีสถาบันพระมหากษัตริย์
ที่ปรับตัวได้ตามเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น มีข้อดีและเหตุผลดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ส่วนการ
พัฒนาประชาธิปไตยแบบถกแถลงก็ควรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผลเช่นกัน แต่เพื่อที่จะตอบ
โจทย์ของความกลมกลืนระหว่างราชาธิปไตยและประชาธิปไตย ซึ่งหวังว่าต่างก็มีความเข้มแข็งให้
ได้นั้น จะขอทดลองเสนอแนวทางหนึ่งคือ การมีปรัชญาร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวไว้เล็กน้อยใน
คำกล่าวนำถึงการเมืองที่มีคุณธรรม โดยใช้คำว่า ‘ธรรมิกประชาราช’ ซึ่งหมายความว่า ทั้งประชา
และราชาต่างถือธรรม หรือความเป็นธรรมชาติและความเที่ยงตรงเดียวกัน คือ ธรรมวิทยาของ
พลเมือง = ธรรมวิทยาของราชา ธรรมวิทยาดังกล่าวหมายถึงปรัชญาและปทัสถานทางความคิด
และความเชื่อว่าอะไรสำคัญนั่นเอง
อันที่จริงเรามีปรัชญาเช่นนี้อยู่แล้ว ถึงกับบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (1) นั่นคือ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งโดยสาระสำคัญคือ การมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมี
ภูมิคุ้มกันหรือลดความเสี่ยง โดยมีเงื่อนไขคือการใช้ความรู้ทางวิชาการและการมีคุณธรรม
หากฝ่ายราชาธิปไตยและประชาธิปไตยต่างนำสาระสำคัญดังกล่าวไปประพฤติปฏิบัติในฝ่ายตน
และคอยเตือนอีกฝ่ายให้ปฏิบัติด้วยความเป็นกัลยาณมิตรต่อกันแล้ว ปรัชญาร่วมกันเช่นนี้ก็น่าจะ
เชื่อมประสานความกลมกลืนของทั้งสองฝ่ายได้
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย เป็นคำขวัญของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 คือ เสรีภาพ เสมอภาค และภราดร/ภคินีภาพ
อันที่จริงการเป็นกัลยาณมิตรต่อกันเป็นเรื่องสำคัญ อุดมการณ์หลักของประชาธิปไตยซึ่ง
การเป็นกัลยาณมิตรก็คล้ายๆ กับการปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดเด่นที่การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีเหนือกว่าระบอบประชาธิปไตยอื่นๆ
ตามที่ได้นำเสนอข้อวิเคราะห์ของมารคมาก่อนแล้ว แต่เท่าที่ผ่านมา เราสาละวนและให้ความ