Page 266 - kpi15476
P. 266
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 2 5
23
22
24
กันไป เช่น ‘ไพร่เลือกตั้ง’ ‘urbanized villagers’ ‘กระฎุมพีหรือแรงงานเสรี’ ‘ชนชั้นกลางใน
ชนบท’ จากชื่อที่เรียกต่างๆ กันนี้ พอจะชี้ความเห็นของฝ่ายวิชาการได้บ้างว่า ในแง่ของชนชั้น
25
แล้ว ฝ่ายพันธมิตรฯ จะค่อนไปทางชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเก่าในเมือง ส่วนฝ่าย นปช. ค่อนไป
ทางชนชั้นกลางใหม่ที่ขึ้นมาท้าทายฝ่ายแรก ทั้งในเรื่องการแบ่งปันทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรม วาทกรรมไพร่-
อำมาตย์ มีความหมายเกินกว่าการเปิดโอกาสให้ถูกเย้ยหยันว่าไพร่ก็อยากเป็นอำมาตย์อยู่แล้ว
หากเป็นการมองว่าอำมาตย์มีดีอะไร จึงดูแคลนผู้อื่นว่า ‘เขลา-ขี้เกียจ-ขี้โกง’ เสกสรรค์
26
เสนอแนะว่า “ผู้รักประชาธิปไตยยังต้องขยายแนวร่วมทางการเมืองออกไปให้ครอบคลุมอีกหลาย
ชนชั้นและชั้นชน” ภายในบรรยากาศเสรีนิยมที่ไม่ “ด่วนแขวนป้ายใส่หมวกให้ผู้อื่นอย่างไม่เป็น
ธรรม”
จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีความจำเป็นที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องพัฒนา deliberative
27
democracy ซึ่งหลายคนแปลว่า ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ซึ่งหมายถึงประชาธิปไตย
แบบมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ สามารถก้าวพ้นการเอาชนะคะคาน สู่การตัดสินใจที่เป็นการเอา
ชนะใจตนเองจากความกลัว อีกทั้งเป็นการตัดสินใจด้วยข้อมูลและความรู้อย่างมีเหตุผล อย่างไรก็ดี
ในที่นี้ขอแปลคำ deliberative ว่า ‘ถกแถลง’ เพราะกะทัดรัดกว่าและน่าจะตรงความหมายพอ
สมควร เพราะตามพจนานุกรมแล้ว คำว่า ‘ถก’ หมายความว่ายกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วย
เหตุผล ส่วนคำว่า ‘แถลง’ หมายความว่า บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการกระบวนการ
ถกแถลงที่มีประสิทธิภาพแบบหนึ่งจะใช้ ‘สมุดประเด็น’ (issue book) เป็นเครื่องมือที่สำคัญ 28
อย่างไรก็ดี ในกรณีของความขัดแย้งที่หยั่งลึก การแจงเหตุผลอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ
ควรมีการพิจารณาใจตนเองและพยายามสื่อสารจากใจถึงใจด้วย ซึ่งขอเรียกการสื่อสารเช่นนี้
ว่าการสานเสวนา (dialogue) อีกประการหนึ่ง หลังการสานเสวนาที่ได้เปิดพื้นที่การพูดคุยเพื่อ
29
22 ทวี สุรฤทธิกุล. 2555; สถานภาพไพร่ในสถานการณ์การเมืองไทย; รวมบทความวิชาการรัฐศาสตร์
เนื่องในโอกาสครบรอบ 34 ปี มสธ. ครบรอบ 30 ปี รัฐศาสตร์, นนทบุรี, มสธ., น. 143-156
23 McCargo D. and Tanruangporn P.; อ้างถึงแล้ว น. 24-27
24 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ; อ้างถึงแล้ว น. 11
25 เสกสรรค์ ประเสริฐกุล; ปาฐก 40 ปี 14 ตุลา; มติชนรายวัน 14 ตุลาคม 2556, น. 16
26 เพิ่งอ้าง
27 ดู ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2549; ฐานความคิดของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ; วารสารสถาบัน
พระปกเกล้า ปีที่ 4 ฉบับที่ 3. ปรีชา อุยตระกูล, นลินี กังศิริกุล, สำเภาว์ งามเชย, 2555; เขายายเที่ยง: การลดทอน
ความขัดแย้งด้วยกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารืออย่างมีวิจารณญาณ (deliberative democracy);
กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สภาพัฒนาการเมือง
28 ดู ปรีชา อุยตระกูล และคณะ เพิ่งอ้าง และ เนาวรัตน์ พลายน้อย และคณะ, 2551; เครื่องมือทางสังคม
เพื่อการเรียนรู้ในบริบทเปลี่ยนผ่าน: ชุดความรู้ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะ (issue book); นครปฐม, คณะ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
29 ปาริชาด สุวรรณบุบผา, 2552; สานเสวนา ... สานใจสู่ใจ; นครปฐม, ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
มหาวิทยาลัยมหิดล