Page 270 - kpi15476
P. 270

วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์”

                            กับ “การอธิบาย”

                            การเมืองยุคหลังการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองใน
                            ระบอบประชาธิปไตยโดยสันติวิธี


                            พันเอก ดร. สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ*






                            บทคัดย่อ



                                  บทความนี้มุ่งทำความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง

                            ไทยสมัยใหม่ โดยเฉพาะในช่วง 20 ปีแรกของระบอบรัฐธรรมนูญ (2475-
                            2495) เพื่อเป็นตัวอย่างของคำตอบว่า ทำไมแนวทางสันติวิธีจึงมักล้มเหลว

                            ทั้งๆที่มีผู้นำแบบประนีประนอมหรือมีวิถีการต่อสู้การเจรจาบนเวทีรัฐสภา
                            โดยนำเสนอการอธิบายผ่านการเมืองของกลุ่มมากกว่าตัวบุคคล และใช้วิธีการ
                            “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” (Prosopography) เป็นหลักในการวิเคราะห์

                            ตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของ “นักการเมือง” จำนวน 600-1,200
                            ท่านซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน เพื่อค้นหารากของปัญหาความขัดแย้ง

                            และหรือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเกิดความรุนแรงทางการเมืองในระดับโครงสร้าง
                            และเชิงวัฒนธรรม และการค้นพบนี้ย่อมช่วยทำให้มองเห็นได้ว่า ปัจจัยเหล่านี้
                            กลายเป็นเงื่อนไขอย่างไรที่เอื้ออำนวยให้กับพวกหัวรุนแรงและการใช้กำลัง

                            ซึ่งพวกนี้มิใช่มีเพียงทหาร แต่รวมถึงฝ่ายพลเรือนอีกไม่น้อย สามารถก้าวขึ้นมา
                            แสดงบทบาทและอิทธิพลในการจัดการปัญหาความขัดแย้งอย่างทรงพลัง นับหลัง

                            จากปี 2475 เป็นต้นมา ดังนั้นถ้าสังคมไทยปัจจุบันต้องการมีบทเรียนจาก
                            ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 7 และสมัยหลังต่อมา เพื่อหลีกเลี่ยงและสร้าง
                            ภูมิคุ้มกันให้กับสังคม ในการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีก

                            จำเป็นต้องทำความเข้าใจเข้าถึงและพัฒนาองค์ความรู้จากการเมืองของกลุ่ม เพื่อ
                            ค้นหาและหนทางแก้ปัญหาความขัดแย้งเหนือตัวบุคคลหรือผู้นำ คือปัญหาระดับ

                            โครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่ยังคงดำรงอยู่กับเราทุกคนทุกภาคส่วน














                              *  กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา รร จปร
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275