Page 271 - kpi15476
P. 271
2 0 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แนวคิดหลัก
จุดเด่นของวิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” คือการให้ความสำคัญกับกลุ่มการเมือง
และการเมืองของแต่ละกลุ่ม มากกว่าเพียงตัวบุคคลหรือเฉพาะผู้นำทางการเมืองเท่านั้น โดยผ่าน
การวิเคราะห์ปัจจัยภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกส่วนใหญ่ เพื่อเป็นตัวกำหนดใน
การอธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแน่นอนว่ามีทั้งปีกนิยมความรุนแรงและ
สันติวิธี ดังนั้นวิธีการนี้นอกจากจะช่วยทำให้ทราบว่าแต่ละกลุ่มนั้นมีธรรมชาติทางการเมืองแบบ
ไหน มีพื้นฐานทางความคิดและผลประโยชน์ขัดแย้งกันอย่างไรแล้ว ยังจะช่วยทำให้เห็นแนวโน้ม
การต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเช่นใด และที่สำคัญคือ จะช่วยตอบคำถามได้ว่า
ทำไมกลุ่มที่มีแนวโน้มนิยมการต่อสู้ทางรัฐสภาหรือการเจรจา กลับเลือกใช้หนทางการใช้กำลัง
แทน ทั้งนี้เพราะการค้นพบคำตอบส่วนหลังนี้ย่อมเผยให้เห็นปัญหาการเมืองในระดับโครงสร้าง
และเชิงวัฒนธรรมที่คอยกำกับอยู่เบื้องหลังให้การเกิดความรุนแรง และหากมีเงื่อนไขที่เอื้ออำนวย
ให้กับปีกหัวรุนแรงของแต่ละกลุ่มขึ้นมามีบทบาทและอิทธิพลในการจัดการปัญหาความขัดแย้งแล้ว
โอกาสที่การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธีย่อมมีไม่มากนัก ดังที่เคยเกิดในสมัยรัชกาลที่ 7 มาแล้ว และ
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตต่อไป หากเรายังคงไม่รู้จักใช้บทเรียนให้เป็น
ประโยชน์
1. บทนำ
วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” นี้เป็นวิธีการเก่าแก่ที่ใช้ในโลกตะวันตกมานานแล้ว
แต่อาจไม่เป็นที่รู้จักของนักวิชาการไทยมากนัก คำนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล-
อดุลยเดชฯ ทรงแปลมาจากภาษาอังกฤษ คือคำว่า “Prosopography” (พระบาทสมเด็จพระเจ้า-
อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ 2536: 452) ซึ่งคำนี้อาจเทียบเคียงได้กับอีกคำหนึ่งในภาษาอังกฤษคือ
“Collective Biography” แต่น่าจะเป็นคำที่คนไทยและนักวิชาการไทยยังไม่คุ้นเคยเช่นกัน เพราะ
เท่าที่ทราบยังไม่เคยมีนักวิชาการท่านใดนำวิธีการนี้มาใช้ในโลกไทยศึกษา ยกเว้นงานวิจัยระดับ
ปริญญาเอกของผู้เขียน (Sorasak Ngamcachonkulkid 2005) จึงถือโอกาสนี้แนะนำและนำมา
ประยุกต์ใช้กับการอธิบายปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองไทยสมัยใหม่ โดยเฉพาะ
ช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสันติวิธี จากปี 2475 ถึงปัจจุบัน
เหตุผลที่แนะนำวิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” นี้ มิใช่เพราะยังไม่มีใครใช้มาก่อน
แต่เพราะวิธีการนี้จะเปิดเผยให้เห็นการเมืองเชิงกลุ่ม ซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นปัญหาการเมืองระดับ
โครงสร้างและวัฒนธรรมทางการเมืองที่อยู่ฉากหลังของการเกิดความรุนแรงได้อย่างเป็นระบบ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดจุดอ่อนของการศึกษาที่ผ่านมาที่เน้นแต่ตัวบุคคลหรือผู้นำ และอาจ
โดยขั้นแรกจะช่วยตอบประเด็นทางการเมืองไทยสมัยใหม่หรือสมัยประชาธิปไตยในเชิงกลุ่มได้
หมายความต่อไปได้ว่า ความรู้หรือคำตอบนี้จะเป็นกุญแจสำคัญหนึ่งไขให้เห็นหนทางป้องกันมิให้
เกิดความรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีก เนื่องจากวิธีการนี้จะช่วยทำให้เห็นพื้นฐานความขัดแย้งและ
การต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละกลุ่ม และจะโยงไปถึงปัญหาทางการเมืองระดับใหญ่ที่ครอบคลุม