Page 272 - kpi15476
P. 272
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 2 1
การตัดสินใจของแต่ละกลุ่มอีกชั้นด้วย โดยเฉพาะเงื่อนไขระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่ไม่
เอื้ออำนวยให้แต่ละกลุ่มหันหน้ามาสู่การเจรจาและประนีประนอมกัน ทั้งๆที่หลังปี 2475 ไทยเรา
มีเวทีสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี กล่าว
อีกทางหนึ่งคือ วิธีการนี้จะช่วยเราตอบคำถามได้ว่า ทำไมแต่ละกลุ่มซึ่งมีแนวโน้มยอมรับวิถี
การต่อสู้ตามระบบรัฐสภา แต่มักหันกลับไปใช้กำลังเป็นทางออก ดังที่เคยเกิดในสมัยรัชกาลที่ 7
มาแล้ว และยังคงอยู่กับเราไปอีกนานในสมัย “สงครามระหว่างสี” หากเราไม่เรียนรู้จาก
ประวัติศาสตร์ เพราะคุณค่าของบทเรียนจากอดีตย่อมเป็นเสมือนเข็มทิศให้กับพวกเราทั้งหลายใน
การก้าวไปข้างหน้าบนเส้นทางสันติวิธีได้เป็นอย่างดี
บทความนี้เขียนขึ้นด้วยเพราะข้อตระหนักดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการด้วยกันคือ
มีวัตถุประสงค์ในระดับเฉพาะและทั่วไปในการอธิบายปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ทาง
การเมืองหลัง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน โดยในระดับทั่วไปเพื่อการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อข้อ
จำกัดของการต่อสู้แนวทางสันติวิธีของกลุ่มผู้นำในประวัติศาสตร์สมัยประชาธิปไตย และเป็นการ
บุกเบิกเปิดพื้นที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยตามแบบ วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” คือ
จากการเน้นเฉพาะตัวบุคคลหรือผู้นำไปสู่กลุ่ม เพื่อเข้าใจปัญหาระดับโครงสร้างและวัฒนธรรม
ทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย ส่วนในระดับเฉพาะเพื่อประกอบการประชุมวิชาการสถาบัน
พระปกเกล้า ครั้งที่ 15 “ธรรมราชา” (Dharmarãjã) โดยเฉพาะสำหรับการสัมมนาของห้องย่อย
ที่ 2 เรื่อง “การเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยสันติวิธี” ซึ่งทางสถาบัน
พระปกเกล้าได้กำหนดสาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุ่มของห้องย่อยที่ 2 โดยเน้น
ในเรื่องบทเรียนจากการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่าน “เพื่อหลีกเลี่ยงและ
สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมไทย ในการป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงทางการเมืองขึ้นอีก…”
ในการนำเสนอบทความนี้ ผู้เขียนได้ยึดตามแนวสาระสำคัญของการประชุมกลุ่มของ
ห้องย่อยที่ 2 เป็นหลัก เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่าต่อสังคมไทยในปัจจุบันและ
อนาคต และจะอาศัยความรู้ในระดับเฉพาะคือ สมัยรัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ/หรือผู้เกี่ยวข้องในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นกรณีศึกษาหรือเป็น
ตัวแบบหนึ่งของ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” แล้วโยงมาสู่การอธิบายในระดับทั่วไปคือ
การสร้างความเข้าใจในข้อจำกัดของการต่อสู้แนวทางสันติวิธีของกลุ่มผู้นำจากอดีตสู่ปัจจุบันและ
อนาคต เพื่อเป็นการนำร่องสำหรับเป็นประเด็นการอภิปรายในการประชุมกลุ่มย่อยของห้องที่ 2
ได้แก่ “1.ปัจจัยแห่งความสำเร็จและข้อท้าทายจากการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ทางการเมือง
ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและ/หรือผู้เกี่ยวข้องในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.การศึกษาเปรียบเทียบกรณีการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองของไทยจากช่วงเปลี่ยนแปลง
การปกครองปี 2475 ถึงปัจจุบัน และ 3.บทเรียนจากการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง
เปลี่ยนผ่าน”
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สังคมไทยมีบทเรียนแบบมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันมิให้เกิดความ
รุนแรงทางการเมืองขึ้นอีกนั้น ควรใช้วัคซีนชนิดดีที่ผลิตขึ้นจากรากปัญหาความขัดแย้งของกลุ่ม เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ต่างๆ คือมีลักษณะเป็นความรู้เชิงวิชาการและสามารถนำไปสู่ภาคปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ