Page 275 - kpi15476
P. 275

2 4     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ห้องที่ 2 ที่สถาบันพระปกเกล้าได้กำหนดสาระสำคัญ 3 ประการดังกล่าวมาแล้ว ในหัวข้อที่ 5
                  คือ บทสรุปและส่งท้าย


                  2. การสำรวจเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์: เห็นแต่ผู้นำ แต่ไม่เห็น

                  กลุ่มการเมือง




                       งานวิจัยหรือการศึกษาให้คำอธิบายเกี่ยวกับสมัย 2475 และการเมืองหลังสมัย 2475
                  โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 7 จากการสำรวจงานเขียนหลักๆ อย่างหยาบๆ จำนวนมากกว่า

                  160 ชิ้น (รวมงานในลักษณะต่างๆ คือ ตำราเรียน หนังสือ/งานวิจัย วิทยานิพนธ์ระดับปริญญา
                  โทและเอก และบทความวิชาการและสารคดีจากภาษาไทยและอังกฤษ) พบข้อเด่นประการหนึ่ง
                  คือ ในจำนวนนี้แม้จะมีข้อเสนอปลีกย่อมแตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต่มีแนวการอธิบายเพียง

                  2 แนวใหญ่ๆ คือสำนักนิยมคณะราษฎรและสำนักสนับสนุนรัชกาลที่ 7 ซึ่งแน่นอนว่าการอธิบาย
                  ของ 2 สำนักคิดนี้มีลักษณะตรงกันข้ามในเรื่องหลักๆ ทั้งในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

                  พ.ศ. 2475 แนวคิดประชาธิปไตย การจัดวางกติกาทางการเมืองหรือรัฐธรรมนูญ ความขัดแย้ง
                  และการประนีประนอมหลัง 2475 ฯลฯ ตัวอย่างของการอธิบาย 2 แบบนี้ ดังเช่น งานของสำนักคิด
                  ศ. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสำนักคิด ศ. ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช


                       อย่างไรก็ตาม ในการอธิบายของทั้ง 2 สำนักคิดนี้ต่างมีจุดอ่อนในเรื่องหลักๆ เหมือนกัน
                  คืองานส่วนใหญ่มักการเสนอภาพความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองจากตัวบุคคลมากกว่า

                  กลุ่ม (ยกเว้นส่วนน้อย เช่นงานของ ศ. ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 2535 และงานใหม่ๆ เช่น
                  งานของ ดร.ณัฐพล ใจจริง 2556) ดังจะเห็นได้ว่า ในบริบทของความขัดแย้งและการต่อสู้

                  ทางการเมืองในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 เรามักจะพบเห็นแต่เฉพาะบทบาทและอิทธิพลของผู้นำเพียง
                  ไม่กี่ท่าน คือ รัชกาลที่ 7 และผู้นำฝ่ายคณะราษฎร เช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา นายปรีดี
                  พนมยงค์ และจอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นผู้ตัดสินใจหรือควบคุมทิศทางของการเมืองในแนวที่

                  ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ความรุนแรงและหรือสันติวิธี กล่าวอีกทางหนึ่งคือ การจะเลือกใช้
                  กำลังหรือแนวทางประนีประนอมในกรณีเกิดความขัดแย้งต่างๆ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำ

                  เป็นสำคัญ และอาจหมายความต่อไปได้ว่า ความล้มเหลวของแนวทางสันติวิธีตามวิถีการต่อสู้ใน
                  ระบอบประชาธิปไตยที่เริ่มก่อตัวขึ้น ถือเป็นความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง
                  ทางการเมืองของผู้นำ คือ รัชกาลที่ 7 และผู้นำฝ่ายคณะราษฎรโดยตรง ซึ่งน่าจะไม่เป็นธรรมกับ

                  ท่านผู้นำทั้งหลาย


                       อันที่จริงแล้ว บทความนี้มิได้ปฏิเสธความสำคัญของท่านผู้นำเหล่านี้ และมิได้ปฎิเสธความ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เพียงการอธิบายภาพระดับบนผิวน้ำเท่านั้น มิใช่ส่วนลึกหรือรากของปัญหาการเมือง โดยเฉพาะ
                  เป็นผู้นำกับพลวัตรของการเมืองไทย แต่คำอธิบายในลักษณะเช่นนี้ยังไม่พอต่อการสร้างความ

                  เข้าใจในปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองที่มักจบลงด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากเป็น


                  ประเด็นสำคัญคือ ทำไมเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง จึงมักจบลงด้วยความรุนแรง

                  ทั้งๆ ที่ผู้นำแต่ละฝ่ายต่างพยายามประนีประนอม การค้นหาคำตอบของประเด็นนี้แน่นอนว่า
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280