Page 273 - kpi15476
P. 273

2 2     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  โดยการเรียนรู้และสร้างบทเรียนนี้ควรเริ่มจากสาเหตุของการเกิดความรุนแรงจากต้นเหตุ ซึ่ง
                  ต้นตอของปัญหานี้แน่นอนว่ามิใช่เป็นเรื่องเล็กๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ หรือเกิดจาก

                  ผู้นำเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวโยงกับกลุ่มต่างๆที่ขัดแย้งภายใต้สภาพแวดล้อม
                  หนึ่งๆ ที่มีปัญหาระดับโครงสร้างหรือกติกาและเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองรองรับอยู่ ดังนั้น
                  จึงต้องมองเหตุการณ์ในภาพกว้าง ไกล แต่ลงมิติลึก จากตัวบุคคลหรือผู้นำไปสู่ระดับกลุ่ม และ

                  พินิจสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในขณะนั้นว่า มีปัญหาอะไรที่ซ่อนอยู่หลังฉากของความ
                  รุนแรง หรือมีเงื่อนไขอะไรในระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยให้กับพวกหัวรุนแรง

                  สามารถก้าวขึ้นมามีบทบาทและอิทธิพลนำไปสู่การใช้กำลังในรูปแบบต่างๆ ได้

                       ถ้าการค้นหาปัญหาความขัดแย้งในระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมนี้ ผู้ศึกษากระทำผ่าน

                  ตัวบุคคลหรือผู้นำ อาจมองไม่เห็นหรือมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย แต่หากอธิบายผ่านกลุ่มจะ
                  พบเห็นได้ง่าย ทั้งนี้เพราะถ้าเข้าใจการเมืองเชิงกลุ่มแล้ว ปฎิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มการเมืองทุกกลุ่มล้วน

                  มีพวกหัวรุนแรงหรือความต้องการที่จะใช้กำลังมีอยู่แล้วในทุกกลุ่มทุกสมัย และพวกนี้สามารถ
                  ก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทและอิทธิพลอย่างมีพลังได้ทุกเมื่อ หากมีสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่
                  อำนวยให้ทั้งปัญหาในระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นการเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา

                  องค์ความรู้จากประวัติศาสตร์เพื่อเป็นบทเรียนแบบมีภูมิคุ้มกันนี้ จึงต้องทำความเข้าใจถึงรากของ
                  ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่รองรับอยู่ และหรือคอยกำกับ

                  แนวโน้มการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างทรงพลัง และการจะเข้าใจเข้าถึง
                  หรือมองเห็นปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องอาศัยเรื่องราวของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
                  ความขัดแย้งนั้นเป็นสำคัญ และการได้มาซึ่งบทเรียนนี้ก็ต้องมีการออกแบบและอาศัยวิธีการวิจัย

                  ที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการค้นหายารักษาโรคต่างๆในวงการแพทย์สมัยใหม่


                       อันที่จริงแล้ว การออกแบบหรือสร้างแบบ “บทเรียน” เพื่อเข้าใจปัญหาระดับโครงสร้างและ
                  เชิงวัฒนธรรมนี้ มิใช่เป็นเรื่องยากแต่ประการใด เพราะมีอยู่แล้วในอดีตและยังคงอยู่กับเราในสมัย
                  ปัจจุบัน แต่มักถูกบดบังไปจากกระแสการอธิบายผ่านผู้นำหรือบุคคลอื่นๆ จึงต้องอาศัยวิธีการใหม่

                  คือ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” ช่วยขยายมุมมองและเพื่อการสร้างความรู้ชุดใหม่เป็นฐานคิด
                  คือการสร้างประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยประชาธิปไตยผ่านกลุ่มมากกว่าตัวบุคคลหรือผู้นำ

                  คือมิใช่แบบผ่านเฉพาะผู้นำเพียงไม่กี่ท่านดังที่มักอธิบายกันตลอดมา แต่เป็นการอธิบายผ่าน
                  กลุ่มการเมืองในมิติต่างๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อช่วยทำให้
                  เข้าใจภาพใหญ่ของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ซึ่งแม้ผู้นำ

                  ในแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะประนีประนอม แต่ภายในกลุ่มต่างๆนั้นยังมีพวกหัวรุนแรง และปฎิเสธ
                  ไม่ได้ว่าบ่อยครั้งพวกนี้กลับมีบทบาทและอิทธิพลเหนือผู้นำหรือฝ่ายอื่นๆ ในกลุ่ม เหตุการณ์จริงที่
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   และการต่อสู้ทางการเมืองนี้ น่าจะมีเงื่อนไขหรือปัญหาระดับโครงสร้างดำรงอยู่ให้กับการใช้กำลัง
                  เกิดขึ้นจึงมักจบลงด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรง แทนที่จะเป็นการประนีประนอมหรือแนวทาง
                  สันติวิธี และสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ย่อมแสดงว่า ภายใต้ความขัดแย้ง



                  เป็นทางออก และหรือมีปัญหาเชิงวัฒนธรรมที่เอื้อหนุนให้กับพวกหัวรุนแรงกลายเป็นพระเอก
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278