Page 274 - kpi15476
P. 274
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 2 3
มาถึงตรงนี้คือจุดสำคัญของประเด็นที่ว่า ถ้าเราจะได้บทเรียนแบบมีภูมิคุ้มกันแล้ว เราคง
ต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมนั้นคืออะไร เพื่อหาทางปิดกั้น
มิให้พวกหัวรุนแรงขึ้นมามีบทบาทนั่นเอง หรือทำอย่างไรจึงจะเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับ
ปีกประนีประนอมของแต่ละกลุ่มได้แสดงบทบาทในความขัดแย้งอย่างทรงพลัง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
ต้องเข้าใจว่าพวกหัวรุนแรงขึ้นมามีบทบาทได้อย่างไร หรือต้องทำความเข้าใจว่า มีเงื่อนไขอะไรที่
ทำให้แต่ละกลุ่มเห็นว่าแนวทางสันติวิธีไม่สามารถใช้ต่อสู้ได้ ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปปัญหาในระดับ
โครงสร้างหรือกติกาทางการเมือง โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ซึ่งอาจมิใช่พินิจเพียงเนื้อหา
มีความเป็นประชาธิปไตยมากหรือน้อย แต่ประเด็นสำคัญคือ เป็นที่ยอมรับกันเพียงใด และ
ท้ายสุดคงต้องทำความเข้าใจว่า การไม่ยอมรับหรือไม่ยอมกันบ้างของแต่ละกลุ่ม แล้วมักจบลง
ด้วยการใช้กำลังในแต่ละครั้งนั้น สะท้อนถึงจุดอ่อนในเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยโดย
รวมอย่างไร ที่ไม่เอื้ออำนวยให้กับประชาธิปไตยหรือการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี
ฉะนั้นการแสวงหาบทเรียนแบบมีภูมิคุ้มกันในที่นี้ จึงต้องเริ่มจากสมาชิกรายบุคคลและกลุ่ม
ย่อย แนวโน้มการต่อสู้และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่ม ฯลฯ จากนั้นทำความเข้าใจต่อไปว่า
มีเหตุผลอะไรที่ทำให้แต่ละกลุ่มไม่ยอมรับกติกาทางการเมืองหรือรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าต้องใช้
กำลังในการต่อสู้ และเมื่อมองภาพรวมของทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องแล้ว มีจุดอ่อนเรื่องอะไรที่เป็นปัจจัย
ร่วม คือมิใช่มาจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นการเฉพาะ แต่ทุกฝ่ายล้วนมีส่วนส่งเสริมในการก่อให้เกิด
การใช้กำลังหรือความรุนแรง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การไม่รู้จักยอมกันบ้างในหมู่นักการเมือง
โดยเฉพาะในเรื่องใหญ่ๆ คือ การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง เช่น ฉบับ
2489 หรือ 2492 นั้น สะท้อนปัญหาด้านใด มีความหมายบอกอะไรให้ทราบว่า สังคมไทยยัง
ขาดวัฒนธรรมสำคัญอะไรที่ไม่ส่งเสริมแนวทางสันติวิธีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
คำตอบนี้อาจพอมีอยู่บ้างแล้ว แต่ทุกท่านจะได้พบเห็นอย่างชัดเจนเมื่ออ่านในส่วนต่อไป
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีเข็มทิศสำหรับการติดตามเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง การนำเสนอ
จึงขอเริ่มจาก หัวข้อที่ 2 “การสำรวจเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์: เห็นแต่ผู้นำ แต่ไม่เห็นกลุ่ม
การเมือง” เป็นการทบทวนวรรณกรรมหรือการสำรวจเชิงประวัติศาสตร์นิพนธ์ เพื่อแสดงให้เห็นว่า
จุดอ่อนของการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยและหรือการเมืองไทยที่ผ่านมาอยู่ตรงไหน และ
จะมีข้อเสนออะไรใหม่ เพื่อเป็นฐานคิดต่อไปของการอธิบายปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้
ทางการเมืองหลัง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จากนั้นจะตามมาด้วยวิธีการศึกษาการเมืองไทย
สมัยใหม่หรือสมัยประชาธิปไตย คือ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” ในหัวข้อที่ 3 วิธีการ
“ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” กับการเมืองไทยสมัยใหม่ เพื่อทำให้การอธิบายการเมืองไทยหลุด
ออกจากวาทกรรมแคบๆ แบบเดิมเฉพาะตัวบุคคลหรือผู้นำไม่กี่ท่านไปสู่ระดับกลุ่มก้อนและเครือ
ข่าย และการอธิบายการเมืองแบบกลุ่มนี้จะเป็นคำตอบให้กับเราได้ทราบต่อๆ ไปว่า อะไรคือที่มา
ของปัญหาความขัดแย้งทั้งในระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดการใช้กำลังหรือความ
รุนแรงหลังปี 2475 นับจากในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ดังจะแสดงไว้ในหัวที่ 4 คือ “กลุ่มกับ
การอธิบายปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองไทยหลัง 2475” และในตอนท้ายของ
บทความนี้ขอจบลงด้วยการเปิดประเด็นรวมๆ สำหรับการอภิปรายในการประชุมกลุ่มย่อยของ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย