Page 277 - kpi15476
P. 277

2       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       พินิจในแง่นี้จะเห็นว่า สภาพแวดล้อมทางการเมืองคือปัจจัยสำคัญในการกำหนดแนวโน้ม
                  การต่อสู้ของแต่ละกลุ่ม ดังนั้นถ้าจะเข้าใจถึงเหตุผลและหรือปัจจัยเบื้องหลังว่า ทำไมผู้นำจึง

                  ตัดสินใจใช้กำลังหรือแนวทางประนีประนอม หรือทั้งๆที่ผู้นำมีแนวโน้มนิยมสายกลางหรือการ
                  เจรจา แต่กลับล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งในแนวทางสันติวิธี เราควรต้อง
                  ทำความเข้าใจกลุ่มที่อยู่ข้างหลังและกลุ่มข้างๆที่เกี่ยวข้องมากกว่า เนื่องจากการแสดงออกใน

                  เบื้องหน้าของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ 7 และหรือพระยาพหลพลพยุหเสนา ล้วนแสดงออก
                  ภายใต้ข้อจำกัดของกลุ่มตนและกลุ่มอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพราะพลังกำกับที่อยู่เบื้องหลังของผู้นำแต่ละ

                  ฝ่าย คือ กลุ่มต่างๆ และภายในแต่ละกลุ่มทั้งกลุ่มเจ้านาย คณะราษฎร รวมทั้งกลุ่มขุนนางเก่า
                  ต่างมิได้เป็นเอกภาพ ปฎิเสธไม่ได้ว่าภายในของแต่ละกลุ่มแต่ละคณะนั้นมีทั้งฝ่ายขวา หัวก้าวหน้า
                  และพวกเป็นกลางๆ และที่สำคัญคือในแต่ละกลุ่มมีทั้งพวกหัวรุนแรง ปีกประนีประนอม และพวก

                  ไม่เลือกหรือเลือกอย่างไหนก็ได้ แต่พวกหลังสุดนี้กลับพร้อมจะเป็นฐานให้กับพวกหัวรุนแรง
                  ได้เสมอ


                       อย่างไรก็ตาม แม้ภายในแต่ละกลุ่มจะมีปีกนิยมความรุนแรง และหรือมีฐานสนับสนุน
                  การใช้กำลังอยู่ไม่น้อย กล่าวอีกทางหนึ่งคือ ความต้องการจะใช้กำลังมีอยู่แล้วในทุกกลุ่มการเมือง

                  ไทย แต่มิใช่ทุกครั้งที่ปีกหรือความต้องการนี้จะมีบทบาทและอิทธิพลเสมอไป ดังนั้นเมื่อเกิดความ
                  ขัดแย้งและหรือถึงเวลาต่อสู้ทางการเมือง จึงควรต้องพินิจปัญหาความขัดแย้งนั้นว่าเกี่ยวข้องกับ

                  เรื่องอะไร เป็นความขัดแย้งระดับใด เช่น เชิงนโยบายหรือโครงสร้าง และที่สำคัญคือ ความ
                  ขัดแย้งนั้นเป็นผลหรือมีรากมาจากปัญหาพื้นฐานทางวัฒนธรรมหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ยังต้อง
                  พิจารณาคู่กรณีหรือกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดว่า ฝ่ายไหนขึ้นมามีบทบาทและอิทธิพลนำ

                  ในกลุ่มใหญ่ เพราะจะมีแนวโน้มออกไปทางนั้น เช่น ถ้าแต่ละกลุ่มมีฝ่ายที่นิยมความรุนแรงขึ้นมา
                  ผลักดัน โอกาสที่จะเกิดการปะทะทางกำลังย่อมมีมาก แม้ความขัดแย้งนั้นอาจเป็นเรื่องที่สามารถ

                  ตกลงด้วยสันติวิธี และหรือผู้นำทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะเปิดการเจรจาก็ตาม ดังเช่นการรบสู้ในกรณี
                  กบฎบวรเดชในปี 2476 จะเห็นได้ว่าพวกหัวรุนแรงมีบทบาทนำทั้งฝ่ายเจ้าและคณะราษฎรอย่าง
                  ชัดเจน


                       ดังนั้น การจะเข้าใจผู้นำในฐานะที่มีบทบาทและอิทธิพลในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง

                  และการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ 7 หรือผู้นำอื่นๆก็ตาม จึงต้องทำความเข้าใจกลุ่ม
                  การเมืองทั้งกลุ่มย่อมและสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มให้ได้ เพราะจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำความ
                  เข้าใจความขัดแย้งและการต่อสู้ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะจบลงด้วยการเจรจาหรือการใช้กำลังก็ตาม

                  แต่ความสำคัญของกลุ่มมักขาดหายไปจากการเน้นแต่ผู้นำ และการขาดหายไปของกลุ่มใน
                  ลักษณะเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้เรามองไม่เห็นและหรือไม่สนใจปัญหาความขัดแย้งระดับโครงสร้าง
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   7 หากยังต่อเนื่องมาในสมัยหลัง เช่น สมัยขบวนการเสรีไทยและสมัยหลังรัฐประหาร 2490 และ
                  และเชิงวัฒนธรรม ซึ่งปัญหาความขัดแย้งในสองส่วนหลังนี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมทั้งโดย
                  ทางตรงและทางอ้อม ที่ก่อให้เกิดการใช้กำลังความรุนแรงหลังปี 2475 ไม่เฉพาะแต่สมัยรัชกาลที่



                  ยังคงดำรงอยู่กับเราในปัจจุบันสมัย “สงครามระหว่างสี”
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282