Page 279 - kpi15476
P. 279
2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
3. วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” กับการเมืองไทย
สมัยใหม่
วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” นี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ในการศึกษาและอธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของกลุ่มผู้นำ และ
ได้รับความนิยมนำมาประยุกต์ใช้วิจัยอย่างแพร่หลายในโลกวิชาการตะวันตกตั้งแต่ปลายทศวรรษ
2460 เป็นต้นมา ดังปรากฏให้เห็นได้จากงานเขียนเด่นๆ ของการศึกษาด้วยวิธีการนี้ ทั้งแบบ
classical และ modern prosopography ที่ยังคงได้รับการยอมรับในสมัยปัจจุบัน เช่น งานศึกษา
แบบ The classical prosopographical study ของ Sir Lewis Namier และงานแบบ the
modern prosopographical method ของ Timothy Tackett
งานเขียนของ Sir Lewis Namier อย่างน้อย 2 เล่ม คือ The Structure of Politics at
the Accession of George III (1929) และ England in the Age of the American
Revolution. vol. I (1930) ยังคงความเป็นเลิศในทางวิชาการในฐานะต้นแบบของ The classical
prosopographical study หรือเป็นที่รู้จักกันในนามของ “สำนัก Namier” (the Namier School)
ซึ่งให้ความสำคัญเฉพาะด้านภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจ ในการอธิบายพฤติกรรมทางการ
เมืองของกลุ่มผู้นำ ส่วนงานเขียนของ Timothy Tackett เรื่อง Becoming a Revolutionary :
the Deputies of the French National Assembly and the Emergence of a Revolutionary
Culture (1789-1790) (1996) เป็นงานวิจัยที่เด่นในสำนัก the modern prosopographical
method สำนักนี้นอกจากเน้นภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจแล้ว ยังให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิง
คุณค่าทางวัฒนธรรม ความคิด ประสบการณ์และอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มผู้นำที่ศึกษา
อีกด้วย
เมื่อรวมทั้ง 2 สำนักนี้เข้าด้วยกัน ลักษณะเด่นของวิธีการนี้จะเน้นปัจจัยด้านภูมิหลังทาง
สังคมและเศรษฐกิจ และสายสัมพันธ์ทางสังคม (Connections) ในทุกมิติ รวมทั้งความคิด
ประสบการณ์และวัฒนธรรมของบุคคลและกลุ่ม เป็นตัวแปรสำคัญในการทำความเข้าใจโลกจริง
และโลกจินตนาการของกลุ่มชน โดยเฉพาะชนชั้นนำหรือกลุ่มผู้นำได้อย่างรอบด้าน แม้ว่าวิธีการนี้
จะเป็นวิธีการเก่าแก่ เน้นการเก็บข้อมูลและการตีความข้อมูลแบบตรงไปตรงมา และไม่ได้เสนอ
แนวคิดแปลกใหม่เป็นที่เร้าใจนักเมื่อเทียบกับสำนักคิดแบบพวกหลังสมัยใหม่ (Postmodern)
แต่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง
โดยเฉพาะในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจโลกของกลุ่มชนชั้นนำหรือกลุ่มผู้นำ (Elite) และการให้
คำอธิบายเกี่ยวกับโลกพฤติกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรมของกลุ่มผู้นำ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย มีหลักการสำคัญที่ยึดถือกันมาว่า ภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นปัจจัยรากฐานในการ
ซึ่งวิธีการนี้น่าจะนำมาอธิบายครอบคุลมกลุ่มการเมืองไทยได้ดีเช่นกัน
กล่าวอีกทางหนึ่งคือ วิธีการและปรัชญาการศึกษาของ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์”
กำหนดโลกทางความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ พฤติกรรมและความสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคม
ของชนชั้นนำและหรือกลุ่มผู้นำแต่ละกลุ่มในทางสังคม ฉะนั้นด้วยวิธีการ Prosopography