Page 301 - kpi15476
P. 301
300 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
reigns, not rules) ในการใช้อำนาจนั้นตามปฐมพระบรมราชโองการ “เราจะ
ปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งถือ
เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักธรรมาธิปไตย
2) พระมหากษัตริย์ (The King) ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) ซึ่ง
ทรงดำรงอยู่ในพระราชฐานะแห่งองค์อธิปัตย์อันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิด
มิได้ ปวงชนชาวไทยรวมกันเป็นประชารัฐที่เป็นองค์อธิปัตย์โดยมีการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์
จึงเป็นของปวงชนชาวไทยร่วมกับพระมหากษัตริย์ตาม “หลักราชประชาสมาศัย”
(ราชา+ประชา+สม+อาศัย) คือ “พระราชากับประชาชนย่อมพึ่งพาอาศัยกัน”
(แนวคิดของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, อ้างถึงในปราโมทย์ นาครทรรพ, 2553;
ลิขิต ธีรเวคิน, 2551; คำนูณ สิทธิสมาน, 2548) พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น
ประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางสภาอภิรัฐมนตรี รัฐสภา รัฐบาล และศาลตาม
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับธรรมาธิปไตย) นี้ โดยผ่านทางผู้แทนของปวงชน
ชาวไทยที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข แต่โดยบัญญัติของรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ โดยมีสภาองคมนตรี (Privy
Council) เป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและ
ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอิสระที่ไม่เป็นสมาชิกหรือมีตำแหน่งในองค์กรที่ใช้
อำนาจรัฏฐาภิบาล อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ รวมทั้ง
องค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานอื่นของรัฐ
3) สถาบันการเมือง เป็นองค์กรรัฐซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยที่เป็นอำนาจของประชารัฐ
แทนประมุขแห่งรัฐ (พระมหากษัตริย์) และปวงชนชาวไทย โดยแยกการใช้อำนาจ
รัฐออกเป็น 4 ฝ่ายตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) และ
หลักการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) คือ อำนาจรัฏฐาภิบาล อำนาจ
นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจ
รัฏฐาภิบาลทางสภาอภิรัฐมนตรี (The Supreme Council of State) อำนาจ
นิติบัญญัติทางรัฐสภา (Parliament) อำนาจบริหารทางรัฐบาล (Government)
อำนาจตุลาการทางศาล (Courts) การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรของรัฐทั้งสี่องค์
อำนาจ รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลัก
นิติธรรม ดังกลไกการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยแบบธรรมาธิปไตยใน
แผนภูมิที่ 2
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย