Page 300 - kpi15476
P. 300
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 299
ซึ่งยึดถือหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (The Supremacy of Constitution)
อันเป็นสัญญาประชาคมที่มีการแยกการใช้อำนาจอธิปไตยเป็น 4 ฝ่ายคือ อำนาจรัฏฐาภิบาล
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาบริหาร และอำนาจตุลาการ องค์อำนาจทั้ง 4 ฝ่ายแยกการใช้อำนาจเป็น
อิสระและตรวจสอบถ่วงดุลกัน สภาอภิรัฐมนตรี (The Supreme Council of State) เป็น
องค์อำนาจที่สี่เป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดที่ใช้อำนาจรัฏฐาภิบาล ตามหลักความเป็นสูงสุดของ
รัฐสภา (The Supremacy of Parliament) ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญและพิทักษ์ระบอบ
ประชาธิปไตยร่วมกับศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของ 3 องค์อำนาจเดิม
(รัฐสภา รัฐบาล และศาล) โดยการเลือกตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบการใช้
อำนาจรัฐและอำนาจการสอบคัดสรร (National Examination) เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าสู่ตำแหน่ง
ทุกตำแหน่งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตซื้อขายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยควบรวม
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ
ราชการ (ก.พ.ร.) เป็นคณะกรรมการราชการแผ่นดินแห่งชาติ (National Public Functionaries
Commission: NPFC) ที่เป็นองค์กรอิสระในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาอภิรัฐมนตรี
2.1 การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยไทยในกรอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ธรรมาธิปไตย
2.1.2 โครงสร้างสถาบันที่เป็นระบบกลไกปฏิรูประบอบประชาธิปไตยไทย
การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยไทยเป็นการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันการเมือง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยใหม่ในระบบกึ่งรัฐสภา (Semi-Parliamentary System) ซึ่ง
หัวหน้าองค์อำนาจที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 4 ฝ่ายต้องมาจากการเลือกตั้งของปวงชนชาวไทย
ซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการแต่งตั้งหัวหน้าองค์อำนาจ
ทั้ง 4 ฝ่ายให้ดำรงตำแหน่งทั้ง 4 ตำแหน่งคือ ประธานสภาอภิรัฐมนตรีใช้อำนาจรัฏฐาภิบาล
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติใช้อำนาจนิติบัญญัติ นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหาร และ
ประธานศาลยุติธรรมสูงสุดใช้อำนาจตุลาการ เพื่อร่วมมือกันปฏิรูปประชาธิปไตยไทยให้นำไปสู่
การสร้างสังคมธรรมาธิปไตยตามกรอบนวัตกรรมของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับธรรมาธิปไตย) โดยมีระบบกลไกโครงสร้างใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นของปวงชนชาวไทยนั้น มีบ่อเกิดมาจาก
รัฏฐาธิปัตย์ (Sovereign) ประกอบด้วย 3 องค์อธิปัตย์ที่เป็นรากฐานของสถาบัน
แห่งชาติ 3 สถาบัน คือ ประชาชาติหรือชาติ (Nation) เป็นบ่อเกิดของ
ประชาธิปไตย (Democracy) ที่ยึดหลักประชาภิบาล (People Governance)
ศาสนา (Religion) ทุกศาสนาเป็นบ่อเกิดของธรรมาธิปไตย (Dharmacracy) ซึ่ง
ถือเป็นหลักธรรมาภิบาล (Moral Governance) และพระมหากษัตริย์
(Monarchy) เป็นบ่อเกิดของราชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงยึดถือหลัก
ราชาภิบาล (Royal Governance) โดยทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่ง เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ปวงชนชาวไทยเย็นศิระเพราะพระบริบาลที่ทรงปกเกล้ามิได้ปกครอง (The King