Page 299 - kpi15476
P. 299

29      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                               ทูลลาพักเพื่อรักษาพระองค์ของพระราชวงศ์ชั้นสูงบางพระองค์ ซึ่งมีพระเจ้า
                               พี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นต้น


                       3)  บทบาทสำคัญของอภิรัฐมนตรีสภา


                         อภิรัฐมนตรีสภามีบทบาทสำคัญ 3 ลักษณะรวมกันคือ ประการแรก ในฐานะที่เป็น
                  สภาที่ปรึกษาสูงสุดขององค์พระมหากษัตริย์ และปฏิบัติงานเป็นเอกเทศ ประการที่สอง ปฏิบัติ

                  งานร่วมกับองค์กรหรือคณะบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์คณะทั้งสภาหรือรายพระองค์ ประการที่
                  สาม ปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะแต่ละพระองค์ในฐานะที่เป็นสมาชิกของอภิรัฐมนตรีสภาและ
                  ในฐานะอื่น เช่น เสนาบดีในกระทรวงต่างๆ จากผลปฏิบัติงาน อภิรัฐมนตรีสภาได้มีบทบาท

                  สำคัญในฐานะสภาการแผ่นดินสูงสุดทั้งด้านนโยบายและนิติบัญญัติเกี่ยวกับการคลังและการ
                  ปกครอง (ชาญชัย รัตนวิบูลย์, 2448: 83-168) สรุปได้ ดังต่อไปนี้


                          3.1)  ในด้านการคลัง ประกอบด้วย บทบาทสำคัญมากในด้านการงบประมาณ และการ
                               ภาษีอากร เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเงินการคลังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

                               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (The
                               Great Recession) ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1930 ส่วนบทบาทใน

                               ด้านหนี้สาธารณะนับว่ามีน้อยมาก กล่าวคือ เพียงแต่มีการเสนอแนะให้กู้เงิน
                               ภายในประเทศ จำนวน 4,000,000 บาท ตามแนวพระดำริของกรมพระกำแพง-
                               เพ็ชรอัครโยธิน เพื่อใช้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2475


                          3.2)  ในด้านการปกครอง ประกอบด้วย บทบาทในการพิจารณาจัดตั้งสภากรรมการ

                               องคมนตรี ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายวางรากฐานการปกครองระบอบรัฐสภาของ
                               พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สนธิ เตชานันท์, 2545: 207-280)

                               บทบาทในการพิจารณาหารูปแบบการปกครองท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริ
                               แผนพัฒนาการเมืองจากเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบนของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
                               เจ้าอยู่หัว (สนธิ เตชานันท์, 2545: 1-159) โดยพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

                               เทศบาล ตลอดจนบทบาทในการพิจารณาพระราชทานรัฐธรรมนูญ ตามแนว
                               พระราชดำริแผนพัฒนาการเมืองจากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่างของพระบาทสมเด็จ

                               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สนธิ เตชานันท์, 2545: 161-205)


                  2. นวัตกรรมสภาอภิรัฐมนตรีเป็นกลไกปฏิรูปประชาธิปไตย

                  เพื่อสร้างสังคมธรรมาธิปไตย
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เป็นใหญ่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยนิติรัฐ (Legal State) ตามหลักนิติธรรม


                       สังคมธรรมาธิปไตยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ยึดหลักธรรมแห่งกฎหมายที่ความถูกต้อง



                  (The Rule of Law) และการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบกึ่งรัฐสภา (Semi-Parliamentary
                  System) หรือ ระบบรัฐสภาแบบธรรมาธิปไตย (Dharmacratic Parliamentary System)
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304