Page 342 - kpi15476
P. 342

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   341


                      ความเสมอภาคและเป็นธรรมภายในระบบราชการ เป็นต้น (Bidhya Bowornwathana 2000 :
                      401)


                            ส่วนหนึ่งพิทยาได้อธิบายว่าเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลักคิดของการดำเนินการปฏิรูประบบ
                      ราชการของไทยภายใต้กรอบธรรมาภิบาลมักจะมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพราะ

                      “ความง่าย” โดยพิทยาได้อธิบายว่า ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่ผลผลิตมากกว่าผลลัพธ์และ
                      ผลกระทบ หรือการเน้นประเด็นประสิทธิภาพก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย

                      กว่า การนำไปปฏิบัติง่ายกว่า วัดหรือประเมินผลของการดำเนินการได้เป็นรูปธรรมก็ง่ายกว่า
                      ซึ่งแน่นอนว่าการอธิบายหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการสู่วง
                      สาธารณะก็จะทำได้ง่ายกว่าด้วย (Bidhya Bowornwathana 2000 : 399-401)


                         การเปลี่ยนแปลงของดุลความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและข้าราชการ

                            ประจำ


                            นับเป็นห้วงเวลากว่า 4 ทศวรรษภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475

                      ที่การเมืองไทยได้รับการให้คำนิยามจากนักวิชาการตะวันตกว่ามีลักษณะเป็นการเมืองแบบ
                      “อำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity)” ซึ่งหมายความว่าระบบการเมืองของไทยเป็นระบบที่มี
                      ลักษณะค่อนข้างปิด โดยแทบไม่เปิดโอกาสให้พลังจากภายนอกระบบราชการได้เข้าไปมีบทบาทใน

                      ทางการเมืองและการกำหนดนโยบายที่สำคัญของประเทศ (Riggs 1966) ซึ่งแน่นอนว่าภายใต้
                      บริบททางการเมืองเช่นว่านี้ เราคงจะคาดหวังที่จะเห็นถึงความโปร่งใส ความรับผิดชอบ หรือ

                      ความสามารถในการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนจากกลไกระบบราชการ อันเป็น
                      สาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลไม่ได้มากนัก


                            อย่างไรก็ตาม บรรยากาศทางการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยเริ่มผ่อนคลายลงตั้งแต่ในช่วง
                      รัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ดังที่งานศึกษาของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้แสดงให้เห็นว่า
                      ในช่วงรัฐบาล พล.อ. เปรม รัฐได้เปิดโอกาสให้กลุ่มผลประโยชน์ อันได้แก่ สมาคมทางด้านธุรกิจ

                      การค้าจำนวนหนึ่งได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับรัฐในการกำหนดนโยบายบางเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ
                      ทำให้มองได้ว่าการเมืองไทยในช่วงเวลานั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวแบบ “ภาครัฐ-สังคมแบบเสรี

                      (Liberal Corporatism)” เสียมากกว่าที่จะมีลักษณะเป็นอำมาตยาธิปไตยดังเช่นในช่วงระยะเวลา
                      ก่อนหน้านั้น (Anek Laothamatas 1992) จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงทางการ
                      เมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว การเมืองไทยจึงได้ก้าวเข้า

                      สู่ยุคของการปฏิรูปทางการเมือง เพื่อให้การเมืองพัฒนาไปในทิศทางของการเป็นประชาธิปไตย
                      แบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ที่เน้นบทบาทของประชาชน และการเสริมร้างธรรม

                      ภิบาลในทางการเมืองและการบริหาร ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนก่อนหน้านี้


                            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าเป็นผลผลิตของกระบวนการ
                      เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองในช่วงหลังปี พ.ศ. 2535 พร้อมๆ กับสามารถถูกมองได้ว่าเป็น
                      เสมือนเครื่องมือและแนวทางที่จะนำไปสู่การเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว         เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ก่อนหน้านี้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีเป้าหมายที่สำคัญอยู่ประการ
   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346   347