Page 383 - kpi15476
P. 383

3 2     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ปีกซ้ายในพรรคก้กมินตั๋งเองแต่ไม่เข้มแข็งและไม่ได้รับการสนับสนุนจากสตาลินหัวหน้าพรรค
                  คอมมิวนิสต์ในโซเวียต แต่พวกชาวนาจำนวนมากในจีนเริ่มเชื่อถือในคำปราศรัยของผู้นำขบวนการ

                  คอมมิวนิสต์จีนมากขึ้นแล้ว

                       เหตุการณ์ในจีนส่งผลกระทบทั้งทางทางการโยกย้ายถิ่นของชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรม

                  สมภารในไทยเพิ่มมากขึ้น และจิตวิทยาสังคมกรเมืองของไทยอย่างมากด้วย


                  3. พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 7 ด้านการวางรากฐาน

                  พัฒนาสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคม



                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าทรงครองราชย์ในระยะสั้นมาก คือ 9 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468

                  – 2484 (1926 - 1935) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองถาโถมเข้ามาจนรัฐบาล
                  ของพระองค์ต้องทุ่มเทไปในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเหล่านั้น นอกจากนี้ พระสุขภาพของพระองค์
                  ก็ไม่ดีต้องเสด็จไปผ่าตัดพระเนตรที่ต่างประเทศด้วย ดังนั้น ถ้ามองอย่างผิวเผินก็จะคิดว่า ไม่น่า

                  จะทรงมีเวลาสร้างสรรค์ผลงานพระราชกรณีกิจที่จะเป็นการวางรากฐานในด้านสังคมและ
                  เศรษฐกิจได้


                       แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศในทุกๆ

                  ด้านเวลา 9 ปีที่ทรงครองราชย์นั้น (การนับ ค.ศ. กับ พ.ศ. อาจลักลั่นกันเพราะไทยในสมัยนั้น
                  ยังใช้วันขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน) เป็นช่วงเวลาที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพิ่งจะยุติลง
                  (ปี ค.ศ.1918) และเหตุการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจทั่วโลกแปรปรวนไปหมด นอกจากนี้ยังเกิด

                  เหตุการณ์วิกฤตต่างๆ ที่กำลังที่ก่อตัวและทวีความรุนแรงจนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
                  (ปี ค.ศ. 1939) จึงนับเป็นช่วงเวลาที่ละเอียดอ่อน ไหวแปรง่าย นำไปสู่การผกผันทั้งทางการเมือง

                  และสังคมเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นการล่มสลายของจักรวรรดิใหญ่ๆ ในยุโรป กระแสประชาธิปไตย
                  แผ่กระจาย ประเทศต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างการเมืองและสังคมเศรษฐกิจอย่าง
                  รวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อกันและกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก

                  และประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนั้นด้วย

                       แม้จะทรงขึ้นครองราชย์โดยที่ไม่ได้ทรงคาดคิดมาก่อนล่วงหน้า และแม้จะขึ้นครองราชย์ใน

                  ช่วงที่เหตุการณ์รอบข้างที่รุมล้อมถาโถมเข้ามาจนแทบจะตั้งพระองค์ไม่ติด โดยเฉพาะวิกฤติ
                  เศรษฐกิจที่โหมรุมเร้าบีบคั้นหนัก เป็นตัวกระตุ้นเร่งวิกฤตทางการเมืองซึ่งได้ตั้งเค้ามานานตั้งแต่

                  รัชกาลก่อนแล้วให้ระเบิดขึ้น แต่พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ตามที่มีบันทึกไว้
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย      ก)   การปรับเปลี่ยนพื้นฐานในด้านความคิด หรือความเคยชินกับธรรมเนียมปฏิบัติเดิมๆ ที่
                  อย่างค่อนข้างละเอียดในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 7 นั้น แสดงให้เห็นว่า ได้ทรงพยายามปูพื้นฐาน
                  การพัฒนาสังคมไทยที่สำคัญยิ่งไว้สองลักษณะ คือ





                           สืบต่อกันมาหลายด้านที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนใหม่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388