Page 406 - kpi15476
P. 406
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 405
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
เจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานเหล็กใช้สำหรับให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้าม พระราชทานชื่อว่า
สะพานพระราม 6
ในปี พ.ศ. 2475 พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้สร้างถาวรวัตถุเพื่อเฉลิมฉลอง
150 ปีสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมจังหวัด
พระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกันสำหรับให้ผู้คนสองฝั่งแม่น้ำที่แบ่งแยกกันอยู่เพราะขาดการคมนาคม
สามารถไปมาหาสู่กันได้โดยสะดวก และโปรดให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นพระราชอนุสรณ์ที่สะพานนี้อีกด้วย
แต่เนื่องจากในช่วงนั้นมีปัญหางบประมาณอยู่ และคำนวณค่าใช้ในโครงนี้เป็นจำนวน
4,000,000 บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้แบ่งงบประมาณเป็นสามส่วน
ส่วนแรกทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ส่วนที่สองทรงให้ใช้งบของรัฐบาล ส่วนที่สามนั้น
โปรดให้บอกบุญเรี่ยไรพระบรม-วงศานุวงศ์และประชาชน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.
2475 และพระราชทานนามสะพานแห่งนี้ว่า “พระพุทธยอดฟ้า” สะพานเหล็กแห่งนี้นี้แต่มีความ
โดดเด่น คือ ตอนกลางของสะพานสามารถยกเปิด-ปิดได้ด้วยระบบไฟฟ้า เพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้
สะดวก นับเป็นสะพานแห่งแรกในประเทศไทยที่มีรูปแบบเช่นนี้
ในปัจจุบัน สะพานพระพุทธยอดฟ้ายังใช้ประโยชน์อยู่ แม้จะได้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
เจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง สะพานพุทธก็ยังเป็นสะพานที่สำคัญ สวยงามและเป็นอนุสรณ์
สถานประดิษฐานปฐมบรมราชานุสรณ์ที่สง่าสมศักดิ์ศรีพระนคร มีลานสาธารณะให้คนมาใช้
พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย ทั้งฟุตบอลและสเกตบอร์ด
6. การเสริมสร้างพื้นฐานในด้านขันติธรรมและแนวทางสันติ
การวางรากฐานในการพัฒนาสังคมที่มีความสำคัญมากด้านสุดท้ายที่จะนำมากล่าวไว้ใน
บทความนี้ คือการวางรกฐานทางด้านขันติธรรมและสันติธรรม ซึ่งน่าเสียดายที่รากฐานด้านนี้ไม่มี
เวลานานพอที่จะรากลงมั่นคงได้มากนัก แต่ผลงานหรือความพยายามของรัชกาลที่ 7 ในด้านนี้
ก็ยังเป็นบทเรียนให้แก่สังคมในปัจจุบันได้
6.1 การสร้างขันติธรรมท่ามกลางความหลากหลายทางความคิดและกระแสแห่ง
ความรุนแรง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงมีพระชนม์ชีพ นั้น เป็นยุคสมัยแห่ง
สงครามและการเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติ ทั่วโลกต่างมีความกดดันและสร้างรูปแบบของความ
รุนแรงขึ้น ทำให้รูปแบบความรุนแรงนั้นขยายออกไปอย่างกว้างขวางในยุโรปเป็นยุคของแข่งขันกัน
ล่าอาณานิคม การสะสมอาวุธ ในที่สุดก็นำมาทำสงครามกัน จนขยายเป็นสงครามโลก และ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย