Page 404 - kpi15476
P. 404

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   403


                      5. การวางพื้นฐานในด้านการสื่อสารคมนาคมเพื่อการพัฒนา



                        5.1. การสื่อสารคมนาคม


                        5.1.1  วิทยุ การสื่อสารคมนาคมเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคมและ

                                ประเทศชาติ ดังนั้นนอกจากรัชกาลที่ 7 จะทรงสนับสนุนเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น
                                หนังสือพิมพ์และนิตนสารในสมัยของพระองค์ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 2.1.3. แล้ว ในรัช
                                สมัยของรัชกาลที่ 7 ยังทรงริเริ่มให้มีการสื่อสารด้านวิทยุขึ้นในประเทศไทย โดยโปรด

                                ให้ตั้งสถานีวิทยุขึ้นในกรุงเทพฯ และทรงให้สั่งเครื่องมือถ่ายทอดและกระจายเสียงจาก
                                ต่างประเทศเข้ามาติดตั้ง และทดลองทำการกระจายเสียงก่อนในปี 2927 - 1929 หลัง

                                จากนั้นจึงได้มีพิธีเปิดสถานีวิทยุขึ้นที่วังพญาไทขึ้นอย่างเป็นทางการ ในเดือนกุมภาพันธ์
                                ปี 1930


                        5.1.2  ภาพยนตร์ ในยุคนั้น ภาพยนตร์เป็นสื่อสารมวลชนใหม่ที่แพร่หลายทั่วโลก นอกจาก
                                จะเป็นมหรสพรูปแบบหนึ่งที่ให้ความบันเทิงในลักษณะใหม่แก่มหาชนแล้ว ก็ยังให้การ

                                ศึกษาตามอัธยาศัย กล่าวคือให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ใหม่ๆ การแต่งกาย แฟชั่น
                                ส่งเสริมจินตนาการและการสร้างสรรค์ใหม่ๆในโลก นอกจากนี้ภาพยนตร์ยังนำเสนอ

                                สถานการณ์หรือประสบการณ์ชีวิตที่มีหลากหลายทางอารมณ์และซับซ้อนได้มากกว่า
                                มหรสพแบบดั้งเดิม ภาพยนตร์จากต่างประเทศจึงได้รับความนิยมในประเทศไทยอย่าง
                                รวดเร็ว การฉายภาพยนตร์เสียงช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้ด้วย


                                พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงสนพระทัยในการชมภาพยนตร์อย่างมาก ทรงฉายหนังใน
                                วังสุโขทัยเป็นประจำและทรงเป็นนักถ่ายทำภาพยนตร์สมัครเล่นด้วย ได้ทรงถ่าย

                                ภาพยนต์ในการเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆไว้เป็นจำนวนมากซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่
                                หอจดหมายเหตุและหอภายนต์ของไทย นับเป็นมรดกภาพเคลื่อนไหวที่มีคุณค่ายิ่ง

                                ทรงสร้างภาพยนตร์เรื่องสั้นๆ เอง


                                ความที่ทรงเห็นคุณประโยชน์ของภาพยนตร์ และทรงเป็นนักชมภาพยนตร์ชั้นแนวหน้า
                                ได้เสด็จไปทรงชมภาพยนตร์ตั้งแต่ประทับอยู่ต่างประเทศ และเสด็จทอดพระเนตร
                                ตามโรงหนังในประเทศไทยและในประเทศต่างๆ ที่เสด็จเยือนด้วยนั้น ทรงเห็นว่า

                                โรงภาพยนตร์ในกรุงเทพและธนบุรี ที่มีประมาณ 20 โรง กระจายอยู่ทั่วเขตพระนคร
                                และธนบุรีนั้น ยังไม่ได้มีโรงภาพยนตร์ที่ได้มาตรฐานที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็น

                                โรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี

                                ในปี พ.ศ. 2475 ปี ซึ่งทรงพระราชดำริให้จัดการเฉลิมฉลองพระนครในโอกาสมีอายุ

                                ครบ 150 ปี ได้มีการประชุมหารือกันในคณะรัฐบาลเพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่
                                ซึ่งสามารถอำนวยสาธารณประโยชน์เป็นที่ระลึกแห่งการเฉลิมฉลองนั้น พระบาท
                                สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารถนาจะจัดสร้างโรงภาพยนตร์ที่เป็นสง่าราศีแก่             เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409