Page 405 - kpi15476
P. 405

404     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           พระนคร เป็นที่ที่ประชาชนทั่วไปมาพักผ่อนชมภาพยนตร์ได้จำนวนมากขึ้นและสำราญ
                           ใจมากขึ้น จึงโปรดเกล้า ให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่จุผู้ชมได้มาก 2,000 คน

                           และนับเป็นโรงมหรสพโรงแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศ ระบบไอน้ำ (Chilled
                           Water System) สร้างขึ้นบริเวณหัวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชร ออกแบบ
                           ก่อสร้างโดยคนไทยทั้งหมด คือ มีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิก

                           ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง นายนารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร เป็น
                           สถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบเรียบง่าย ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับไทย มีระบบไฟ

                           แสงสีที่แปลกตาอย่างไม่เคยมีมาก่อน มีระบบเสียงที่สมบูรณ์แบบ มีระบบปิด – เปิดม่าน
                           อัตโนมัติ ในการนี้ทรงใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินประมาณ 9 ล้านบาทเป็นค่า
                           ก่อสร้าง ตบแต่งและติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด และได้พระราชทานนามว่า “ศาลา

                           เฉลิมกรุง” เปิดฉายปฐมฤกษ์ครั้งแรกเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์
                           เรื่องแรกที่จัดฉาย คือ “ เรื่องมหาภัยใต้สมุทร” ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพหลวงที่ยัง

                           เปิดดำเนินการมาจนปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์
                           เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200


                           ต่อมาในยุคที่ภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟู ศาลาเฉลิมกรุงได้กลายเป็นศูนย์กลางของวงการ
                           บันเทิงอย่างแท้จริง เป็นศูนย์รวมของแหล่งอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นศูนย์รวม

                           ของผู้คนในวงการภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้กำกับ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน
                           นักพากย์ นักร้อง ช่างเขียนโปสเตอร์ ฯลฯ และเป็น สถาบันในการผลิต บุคลากรทาง
                           ด้านการภาพยนตร์และละครของไทย ตลอดไปจนถึง บริษัทฉายหนังต่างๆ ที่มีกิจการ

                           อยู่ในละแวก ด้านหลังศาลาเฉลิมกรุง


                           การที่ทรงสร้างศาลาเฉลิมกรุงพระราชทานประชาชนในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
                           นั้นจึงนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมพื้นฐานในการพัฒนาสังคมที่มีผลกระทบในวงกว้างมาก


                   5.2 การสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าเชื่อมชุมชนสองฝั่ง


                       การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับให้ผู้คนและรถราสัญจรไปมาสะดวกแทนการใช้
                  เรือนั้น นับเป็นนวัตกรรมทางการสื่อสารคมนาคมที่สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล

                  ที่ 7


                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำวิทยาการจากตะวันตกด้านการสื่อสาร
                  คมนาคมมาประยุกต์ให้กลมกลืนกับวิถีดั้งเดิมหลายด้าน เช่นการสร้างทางรถไฟเป็นต้น ต่อมา
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานั้นทรงพระราชดำริให้กระทรวงโยธาธิการ
                  ทรงโปรดให้ปรับปรุงพระนครเพื่อให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการขุดคลอง
                  สร้างสะพานและตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย แต่สะพานที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นก็เป็นสะพานข้ามคลอง



                  เป็นผู้วางแผนและออกแบบสร้างที่ท่าพระจันทร์ แต่ต้องทรงระงับไปเพราะปัญหางบประมาณ
                  ในยุคนั้น
   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409   410