Page 425 - kpi15476
P. 425
424 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
(3) ความหลงของมนุษย์ ถือว่าอำนาจคือ เงินกับชนชั้นสูง ทำอะไรก็ถูกหมด เรียกว่า
“บาปมุติ” คือ ผู้ที่ไม่รู้จักบาป ผู้ทำอะไรไม่ผิด นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้วิเคราะห์
สถานการณ์ของสยามประเทศขณะนั้นระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2474 ว่า ตกอยู่ใน
วังวนที่เขาเรียกว่า “การโกหกตอแหล การหลอกลวงได้ก่อกำเนิดจากคณะรัฐบาลและ
หมู่ชนชั้นสูง” สามารถตีความตามบริบทสมัยนั้นได้มุ่งโจมตีอย่างนุ่มๆ อันมีนัยพาดพิง
ถึงคณะรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และหมู่ชนชั้นสูงที่มีอำนาจ
ตามดัชนีบ่งชี้ของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กำหนดขึ้น คือ ชาติตระกูล ยศศักดิ์ และ
ความมีเงิน พออนุมานได้ว่าจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อพระวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าวณิช
ที่ร่ำรวยมั่งคั่งด้วยเงิน รวมทั้งยังได้ให้ความหมายของอำนาจในยุคสมัยนั้น ว่าหมายถึง
เงินกับชนชั้นสูง พร้อมสาธกอรรถาธิบายชี้ประเด็นอย่างตรงไปตรงมา” ใครที่มีเงินหรือ
เป็นชนชั้นสูงกระทำ ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องหมดที่เรียกว่า “บาปมุติ”
(4) ความสงบ ได้กล่าวถึงความอนิจจังของสรรพสิ่งในโลก อำนาจเปลี่ยนมือสะท้อนเห็นว่า
ประเทศหลักๆ มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศรัสเซีย
หลังจากโคนล้มกษัตริย์อำนาจกลับมาอยู่ในมือคนจน รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีป
ยุโรปและอเมริกา อำนาจการปกครองได้มีการกระจายมายังประชาชน นายกุหลาบ
สายประดิษฐ์ ใช้คำว่า “อำนาจเฉลี่ยตัวของมันอยู่กับบุคคลทั่วไป” และได้พยากรณ์
เหตุการณ์ของโลกและสยามประเทศ ที่จะต้องเผชิญก็คือ การเกิดแนวโน้มขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองจากการรวมตัวผนึกกำลังอย่างรวดเร็ว เพื่อการเปลี่ยน
เชิงใช้กำลังบังคับทั้งในด้านประชาชน ประชาชนต้องรู้จักสิทธิเสรีภาพของตนเอง และ
ด้านผู้ปกครองประเทศก็ต้องยอมรับความจริงเพื่อทำประโยชน์ให้แก่คนส่วนรวมอย่าง
แท้จริง นอกจากนี้ยังเน้นซ้ำว่า ความจริงกับความสงบสุขเป็นของคู่กัน นายกุหลาบ
สายประดิษฐ์ได้ยกคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านำมากล่าวถึงและอธิบายความ
ว่า “...แม้ในทางพระพุทธศาสนาที่สอนให้มนุษย์สู้หน้ากับความเป็นจริง ให้เชื่อด้วยมีใจ
ศรัทธา มิใช่ให้เชื่อด้วยความงมงาย หรือหลอกลวง หรือข่มขี่บังคับการโกหกตอแหล
นั่นเทียว ที่เป็นบ่อเกิดของความปั่นป่วนจลาจล และนำความเดือดร้อนมาสู่
มนุษยชาติ...”
จากแนวความคิด หนังสือพิมพ์อิสรชนเพื่อความเป็นมนุษย์ของ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์
ที่นำเสนอนี้ มุ่งชูประเด็นเรียกร้อง “สิทธิความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคของมนุษย์ ศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ อย่าเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ และความเป็นธรรมของสังคม” เป็น
เจตนารมณ์ของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ โดยตรง บ่งชี้ได้จากคำบอกเล่าของ นายกุหลาบ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย (สด กูรมะโรหิต อ้างถึงใน สุภา ศิริมานนท์, 2548)
สายประดิษฐ์ ได้เขียนเล่าไว้ในจดหมายถึง นายสด กูรมะโรหิต ว่า “...ความจริง มันไม่มีอะไรที่
แสลง ฉันพูดถึงสิทธิของมนุษยชน ความเสมอภาคของมนุษย์ ความเป็นธรรมของสังคม...”
รากแก้วแห่งแนวความคิดของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ในบทความเรื่อง “มนุษยภาพ”
ดังกล่าวจึงมาจากรากฐานระบบการศึกษาสยามที่ได้รับการปูพื้นฐานโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า