Page 426 - kpi15476
P. 426

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   425


                      กรมพระยาวชิรญาณวโรรสในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้เรียนรู้ในระบบ
                      โรงเรียนเทพศิรินทร์สืบต่อมา โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

                      ทรงรวบรวมความรู้ “เพื่อบำรุงร่างกายและจิตใจ” ขึ้น คือ หนังสือ “มานุษยวิทยา” เมื่อ ร.ศ. 117
                      (ประมาณ พ.ศ.2441) กล่าวถึง “ความรู้เรื่องของมนุษย์” เป็นความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์ เพื่อ
                      มุ่งเน้นการบำรุงและเสริมสร้างร่างกายของคนให้มี “ความผาสุก” และเป็นการให้ความรู้ที่เกี่ยวกับ

                      การประพฤติตัวที่ดีผ่านทางระบบการศึกษาที่สร้างความรู้และแบบแผนปฏิบัติบนฐานรากธรรมะ
                      คือ ไตรสรณะ ได้แก่ ความมีชาติเป็นถิ่นที่อยู่ร่วมกัน การมีศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งก็คือ

                      พระพุทธศาสนาที่เป็นศาสนาประจำชาติ และการให้ความเคารพและอยู่ภายใต้การปกครองของ
                      พระมหากษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ (หจช. ร.5 ศ/2, “ลายพระหัตถ์กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชากราบ
                      บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” วันที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.118 และสมเด็จ

                      พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, มานุษยวิทยา เล่ม 1 ตอนที่ 1-2, น. คำนำ ข.)


                            การศึกษาในระบบโรงเรียนสยามในรัชกาลที่ 7 จึงมีผลโดยตรงต่อการสร้างรากแก้ว
                      แนวความคิด “มนุษยภาพ” ของนายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ในแก่นสาระฐานรากจากพระพุทธ
                      ศาสนา ดังสามารถนำการอธิบายความของ พระธรรมปิฏก (2538: 6 และ 647) มาช่วย

                      อนุมานตีความในประเด็นที่ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน
                      พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ (กรรมวาท และกิริยวาท) เป็นศาสนาแห่งเพียร

                      พยายาม (วิริยวาท) การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ ให้ทุกคนจัดการ
                      กับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จได้
                      แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันก็จะสร้างผลสำเร็จนั้นตาม

                      ความสามารถของตน


                            นอกจากนี้ นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ความอนิจจังของสรรพสิ่งในโลก
                      ดังตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นความจริงของโลก ซึ่งเป็นหนึ่งใน “ไตรลักษณ์”
                      หมายถึง สามัญลักษณะของโลก 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่

                      ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์ และอนัตตา คือ
                      ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง พร้อมทั้ง นายกุหลาย  สายประดิษฐ์ ได้กล่าวเน้นย้ำไว้ว่า “...แม้ในทาง

                      พุทธศาสนาที่สอนให้มนุษย์สู้หน้ากับความเป็นจริง ให้เชื่อด้วยมีใจศรัทธา มิใช่ให้เชื่อด้วยความ
                      งมงาย หรือหลอกลวง หรือข่มขี่บังคับการโกหกตอแหลนั่นเทียว นี่เป็นบ่อเกิดของความปั่นป่วน
                      จลาจล และนำความเดือดร้อนมาสู่มนุษยชาติ...” เนื่องจาก “ศรัทธา” ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า

                      ศรัทธาเป็นเพียงขั้นต้นที่สุดในกระบวนการพัฒนาปัญญา ศรัทธาที่ประสงค์ จึงต้องเป็นความเชื่อ
                      ความซาบซึ้งที่เนื่องด้วยเหตุผล คือ มีปัญญารองรับและเป็นทางสืบต่อแก้ปัญหาได้ มิใช่เพียง

                      ความรู้สึกมอบตัวมอบความไว้วางใจให้สิ้นเชิง โดยไม่ต้องถามหาเหตุผล อันเป็นลักษณะทางฝ่าย
                      อาเวค (emotion) ด้านเดียว ถือว่าเป็นความเชื่อที่หลงงมงาย จะทำให้ไม่สงบ แต่ถ้าเป็นศรัทธาที่
                      เกิดจากปัญญามีเหตุมีผลกำกับจะช่วยให้เกิดความสงบเยือกเย็น (ศรัทธานำไปสู่ปิติ ดูพุทธพจน์ที่

                      สํ.นิ.16/69/37 อ้างถึงใน พระธรรมปิฏก, 2538)                                                        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   421   422   423   424   425   426   427   428   429   430   431