Page 427 - kpi15476
P. 427
42 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ด้วยแนวความคิด “มนุษยภาพ คือ ความเป็นมนุษย์” ดังกล่าวข้างต้น ถือได้ว่า
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นผู้มีฐานรากมั่นในพระพุทธศาสนาได้เป็นแกนนำแห่งยุคสมัย
รัชกาลที่ 7 ชูประเด็นนี้อย่างเด่นชัดและจริงจัง และได้เป็นประเด็นหลักของการเคลื่อนไหวเพื่อ
เรียกร้องสิทธิความเป็นมนุษย์กันทั่วโลก จนที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติประกาศเจตนารมณ์ใน
การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
พ.ศ.2491
แนวความคิด “มนุษยภาพ คือ ความเป็นมนุษย์” ได้เป็นกระแสหลักของนักหนังสือพิมพ์
โดยมีนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นแกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวที่โดดเด่นในสมัยต้นรัชกาลที่ 7
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เนื่องจากนักหนังสือพิมพ์ได้พยายามทำหน้าที่และ
บทบาทของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างเต็มที่ และกลุ่มนักหนังสือพิมพ์
เคลื่อนไหวของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ได้พยายามอย่างมุ่งมั่นนำเสนอการให้นิยาม พร้อม
ทั้ง “ปลุก ปลูก และเปลี่ยนแปลง” ด้วยฐานรากแนวความคิด “มนุษยภาพ คือ ความเป็น
มนุษย์” ในทุกๆ กิจกรรม ทุกๆ วิธีการเพื่อสื่อสารข่าวสารผ่านหนังสือพิมพ์ และหนังสือเล่มคติ
บันเทิง เป็นการเติมความรู้ให้แก่ประชาชนอยู่ทุกๆวันอย่างต่อเนื่อง สามารถประยุกต์การอธิบาย
ของสุกัญญา สุดบรรทัด (2544) และฮอลล์ (Hall, 1980) ในเรื่องทฤษฎี Hegemony (การ
ครอบงำทางอุดมการณ์) ได้ดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งบ่งชี้ต้นรากของการเกิดแนวความคิด
“มนุษยภาพ คือ ความเป็นมนุษย์” เกิดจากวิธีการคิดแบบผสมผสาน โดยมีหลักพุทธศาสนาเป็น
ฐานราก และแสดงความกล้าหาญ เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสิทธิและเสรีภาพส่วน
บุคคล ต่อเนื่องไปยังต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแนวเป็นอิสรชนมากยิ่งขึ้นควบคู่
กันไป การนำเสนอแนวความคิด “มนุษยภาพ คือ เป็นมนุษย์” จึงถือเป็นการสร้างรหัส (code)
ของกลุ่มสามัญชนที่ผู้วิจัยเรียกว่า “กลุ่มพลังใหม่” ใช้เป็นรหัสในการถ่ายทอดอุดมการณ์ของ
สามัญชนเพื่อสร้างเป็นกระแสหลัก ตามการอรรถาธิบายของฮอลล์ (Hall, 1980) ซึ่งรหัสของ
ความเป็นมนุษยภาพที่ผ่านการกรองและการแปลสารของคณะสุภาพบุรุษ โดยมีนายกุหลาบ
สายประดิษฐ์เป็นแกนหลัก และเป็นรหัสที่แตกต่างและต่อต้านการปกครองของผู้ปกครอง
ในขณะนั้น
ถึงแม้ว่า รากแก้วแห่งแนวความคิด “มนุษยภาพ คือ ความเป็นมนุษย์” นั้นมาจาก
พุทธศาสนา ส่วนรากแขนงการสร้างความเจริญเติบโตงอกงามด้านความคิดนั้นได้รับความคิด
ความรู้ทางตะวันตกจากการอ่านค้นคว้าเพิ่มเติม และสภาพสังคมการเมืองโลกมีการเปลี่ยนแปลง
สู่กระแสเสรีนิยมประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ด้วยความเป็นอิสรชนของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์
จึงส่งผลให้เกิดการพินิจพิเคราะห์ใคร่ครวญ มีผลสืบเนื่องให้เกิดวิธีการคิด “มุมกลับ” คือ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ความคิดที่นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นำเสนอจึงมีการคิดโต้แย้งไม่เห็นด้วยต่อสภาพการณ์ที่เป็น
ประชาชนสามัญชนเป็นต้นเสียง หมายถึง เป็นผู้เริ่มต้น และเป็นต้นคิด หมายความว่า เป็น
ผู้ศึกษาค้นคว้าแสวงหาและนำเสนอความจริง ความรู้และทางออก ดังนั้น เนื้อหาสาระแนว
อยู่ขณะนั้นด้วย นี่คือ วิธีการคิดในสมัยต้นของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ช่างมีความอิสระ
เสรีภาพในความคิดเห็นแห่งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475