Page 429 - kpi15476
P. 429

42      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  และคณะสุภาพบุรุษได้เข้ามาร่วมปรับปรุงเป็น บางกอกการเมืองยุคใหม่ ต่อจากนั้นคณะสุภาพ
                  บุรุษก็ได้ทำงานหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ผู้นำ สยามราษฎร ศรีกรุง และหลังการเปลี่ยนแปลง

                  การปกครอง พ.ศ.2475 นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้เป็นบรรณาธิการและเพื่อนบางคนใน
                  คณะสุภาพบุรุษได้ร่วมทำหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ หนังสือพิมพ์ที่คณะสุภาพบุรุษเข้าร่วมทำงาน
                  ด้วยล้วนเป็นต้นรากหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงนิยมหรือหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้า คือ ต้องการ

                  เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบใหม่ มีทัศนะมุมมองที่แตกต่างจากรัฐบาลในพระบาทสมเด็จ
                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 คณะสุภาพบุรุษในนาม

                  การทำหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ จึงยืนอยู่ข้างรัฐบาลใหม่ของคณะราษฎรโดยเฉพาะสมัยพระยา
                  พหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี


                       “คณะสุภาพบุรุษ” เป็นพลังใหม่อันทรงพลัง ผู้วิจัยได้หยิบยกประเด็นการรวมตัวกันของ
                  นักหนังสือพิมพ์สามัญชนเป็น “คณะสุภาพบุรุษ” และเป็นต้นแบบนักหนังสือพิมพ์อิสรชน ถือเป็น

                  พลังใหม่อันทรงพลังแห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวนั้น เนื่องจากเมื่อ
                  ย้อนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนักหนังสือพิมพ์สามัญชนคนสำคัญๆ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการ
                  ปกครอง พ.ศ.2475 ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงของนักวิชาการ ปรากฏว่า เป็นนักหนังสือพิมพ์

                  ในรัชกาลที่ 5 จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ เทียนวรรณ  สุกัญญา  ตีระวนิช (2520: 54-61) ได้บ่งชี้
                  ความโดดเด่นของเทียนวรรณ ไว้ว่า “เทียนวรรณ: นักหนังสือพิมพ์ชาวไทยท่านแรกที่ต่อสู้เพื่อ

                  เสรีภาพ” ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ (2549: 188-239) ได้ระบุคุณลักษณะสำคัญของเทียนวรรณ
                  ไว้ว่า “เทียนวรรณ: ปัญญาชนไพร่กระฎุมพีคนแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” และ “ความก้าวหน้า”
                  ในความคิดของ “เทียนวรรณ” หรือแม้แต่นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้เป็นผู้ตั้งสมญานามให้แก่

                  เทียนวรรณ คือ “บุรุษรัตนของสามัญชน” (ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ 2549: 191) อีกท่านหนึ่งที่
                  ได้รับการกล่าวถึง คือ ก.ศ.ร.กุหลาบ ซึ่งสุกัญญา  ตีระวนิช (2520:43) ได้อธิบายว่า

                  ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นสามัญชนนักหนังสือพิมพ์ไทยคนแรก แต่ความสำคัญของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ไม่ได้
                  อยู่ที่ผลงาน หนังสือพิมพ์ของเขา ความสำคัญของเขาอยู่ที่เขาเป็นผู้สร้างจุดต่อในวงการ
                  หนังสือพิมพ์จากกำมือของฝรั่งมาสู่เจ้านายในราชสำนัก แล้วจึงแพร่ออกมาสู่สถาบันหรือองค์การ

                  ต่างๆ ตลอดจนขุนนาง แล้วจึงเบนเข้าสู่วงการของสามัญชนโดยการนำของ ก.ศ.ร.กุหลาบ
                  นักหนังสือพิมพ์ไทยทั้งสองท่านดังกล่าวเป็นนักต่อสู้นักเคลื่อนไหว นักคิด  แต่เพียงลำพังของ

                  ตนเอง ผู้วิจัยขอเรียกพลังนี้ว่าเป็น “พลังต่อสู้พลังเคลื่อนไหวทางความคิดเชิงเดี่ยว”

                       “คณะสุภาพบุรุษ” พลังต่อสู้พลังเคลื่อนไหวทางความคิดเชิงผสมผสาน ในขณะที่ “คณะ

                  สุภาพบุรุษ” อย่างน้อยมีนักหนังสือพิมพ์หลักทั้งสี่ คือ กุหลาบ – มาลัย – โชติ – อบ เป็นขุม
                  พลังช่วยขับเคลื่อนหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยต้นของการกำเนิดกลุ่มในรัชกาลที่ 7 สมาชิกทุกคนใน
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   และพร้อมที่จะสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองให้แก่ประชาชนอย่างมุ่งมั่นอย่างแข็งแกร่ง
                  คณะสุภาพบุรุษได้ผ่านการเรียนรู้ศึกษาบทเรียนจากการทำงานจริงและความเป็นเพื่อนร่วมกัน
                  ช่วยกันกล่อมเกลาความคิดและสร้างชีวิตจิตวิญญาณของนักหนังสือพิมพ์ที่มีธรรมะอยู่ในหัวใจ



                  ทำให้พลังแห่งนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้มิได้สูญสิ้นไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป ผู้วิจัยขอเรียก
                  คณะสุภาพบุรุษนี้ว่า เป็น “พลังต่อสู้พลังเคลื่อนไหวทางความคิดเชิงผสมผสาน” ได้ร่วม
   424   425   426   427   428   429   430   431   432   433   434