Page 430 - kpi15476
P. 430
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 429
สร้างสรรค์ผลงานเขียนและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการ การเขียนผลงานของตนในยุคนั้น
รวมทั้งแนวความคิด “มนุษยภาพ” ของคณะสุภาพบุรุษยังมีอิทธิพลต่อนักคิดนักหนังสือพิมพ์และ
คนรุ่นหลังอีกด้วย ดัง มนธิรา ราโท (2548: 421-439) ได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบคณะสุภาพ
บุรุษของไทยกับคณะตึ – หลึก – วัน – ควาน หรือกลุ่มวรรณกรรมอิสระของเวียดนาม โดยมี
เติ้ตลิญห์ เป็นผู้ก่อตั้งรวมนักเขียนเป็นกลุ่มขึ้นในปี พ.ศ.2476 ขณะที่คณะสุภาพบุรุษเกิดขึ้นในปี
พ.ศ.2472 นับเป็นเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งสองกลุ่มมีความเหมือนกันตรงจุดกำเนิดเกิดมาจากชนชั้น
ปัญญาชนชั้นกลาง เน้นสะท้อนปัญหาและความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นกลางและปัญญาชนรุ่นใหม่
ใช้ภาษาที่เรียบง่ายซึ่งใช้กันในชีวิตประจำวัน และทั้งสองกลุ่มได้รับการยกย่องทั้งในฐานะของ
นักเขียนระดับแนวหน้าของประเทศ ผู้มีคุณูปการต่อพัฒนาการด้านวรรณกรรมในประเทศของตน
และพวกเขาก็สมควรได้รับการระลึกถึงในฐานะของปัจเจกชนผู้ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์และความเชื่อ
ของตนเช่นกัน จากการรวมตัวของ “คณะสุภาพบุรุษ” ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นดัชนีช่วยบ่งชี้ของ
“พลังใหม่อันทรงพลัง” ที่มาจากรากฐานการผนึกกำลังสามัญชนอิสรชนที่เรียกว่า “พลังต่อสู้
พลังเคลื่อนไหวทางความคิดเชิงผสมผสาน” แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2477 อย่างเด่นชัด
ความผสมผสานระหว่างนักหนังสือพิมพ์และนักวรรณกรรมของคณะสุภาพบุรุษ หาก
พิจารณาพิเคราะห์ความโดดเด่นของคณะสุภาพบุรุษ พบว่า คณะสุภาพบุรุษได้ทำหน้าที่และ
บทบาทของการเป็นหนังสือพิมพ์อย่างเต็มที่ จึงได้ใช้พลังของการเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ขับเคลื่อน
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งการปลุก ปลูกและเปลี่ยนแปลงอย่างโดดเด่นในสมัยต้นรัชกาลที่ 7
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ.2475 โดยได้ประยุกต์ใช้ความเป็นนัก
วรรณกรรม หรือนักประพันธ์มาขยายผลและสร้างองค์ความรู้แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์อย่างผสม
ผสานลงตัวในการทำงาน ดังผลการวิเคราะห์ของการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นพลังขับเคลื่อนหลัก
2 พลัง ได้แก่ การสร้างหนังสือพิมพ์และหนังสืออ่านเล่นคติบันเทิงของคณะสุภาพบุรุษ ช่วย
เสริมสร้างให้เกิดพลังแข็งแกร่งหนักแน่นทรงพลัง ต่อเนื่องและเปี่ยมล้นด้วยแนวความคิดหลัก
“มนุษยภาพ” และ“ธรรมะของหนังสือข่าว” เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองให้เกิดขึ้น
จริงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะสมัยต้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง ระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ. 2475
ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแผ่นดินพระบาท-
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสมือนดูสวนกระแสความคิดกันนั้น หากพิจารณาแล้ว เป้าหมาย
ลึกๆ มิได้แตกต่างกันเลย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือหลักธรรมราชา
“พ่อคุ้มครองลูก” และมุ่งมั่น “ทรงทำแต่สิ่งที่ดีที่จะกระทำได้ ในขณะที่กลุ่มนักหนังสือพิมพ์อิสระ
ชนโดยการนำของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้เป็นพลังขับเคลื่อนให้ประชาชนได้เกิดจิตสำนึก
สาธารณะทางการเมือง ล้วนมุ่งเน้นสร้าง “ความเป็นมนุษย์หรือมนุษยภาพ” เพื่อเสรีภาพและร่วม
สร้างสังคมไทยด้วยจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยเพื่อประชาชนอย่างสันติสุขสืบมา เพียงแต่ต่าง
วิธีการของการเคลื่อนไหวและจังหวะเวลาเร็วช้าเท่านั้น เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย